วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

1. คลิ๊กที่นี่



2.หลังจากคุณกดที่ปุ่มด้านบนมันจะนำคุณไปที่หน้าเวปไซต์ของ Exness คุณเห็นปุ่มสีเหลือง เปิดบัญชี ที่เราวงกลมไว้ด้านบนขวาของหน้าเวปนั่นมั้ย ใช่แล้ว กดเลยครับ















3. เลือกชนิดบัญชีการซื้อขายที่คุณต้องการจะเปิด(รายละเอียดเกี่ยวกับบัญชีซื้อขายอยู่ที่ปุ่มขวาบนของหน้าเวปไซต์)















4.กรอกรายละเอียดต่างๆ (แนะนำกรอกเป็นภาษาอังกฤษ) เรียบร้อยแล้วให้คลิ๊กที่ดำเนินการลงทะเบียนต่อ
**ในส่วนของหมายเลขโทรศัพท์ ยกตัวอย่างเบอร์โทรของคุณ 0811234567
    ที่ช่องใส่หมายเลขโทรศัพท์ให้คุณใส่ +66 แทนที่ 0 ตัวแรกเป็น +66811234567















5.ถัดจากนั้นโบรคเกอร์จะส่งรหัสยืนยันการลงทะเบียนไปที่โทรศัพท์และอีเมลของคุณ ซึ่งคุณต้องนำมันมาใส่ในส่วนนี้















6.ถัดมาเป็นส่วนของการตั้งค่าความปลอดภัย ก็ตั้งตามสะดวกเลยครับ
**ส่วนแรก ประเภทของการรักษาความปลอดภัยนี้เป็นการตั้งค่าเพื่อรับรหัสเวลาใช้งานถอนเงินด้วยนะ

















7. เสร็จแล้วเราจะได้รหัสผ่านทั้งหมดที่เราตั้งมาโชว์ที่หน้านี้ บันทึกไว้ให้ดีนะครับ
















8.หลังจากกดปุ่ม ถัดไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า ในขั้นตอนนี้จะมาถึงการเลือกโบนัสให้กับบัญชีเทรดของคุณกันแล้ว ศึกษารายละเอียดแล้วเลือกได้ตามใจชอบเลยครับ















9.ตอนนี้คุณได้ลงทะเบียนบัญชีเกือบจะเรียบร้อยแล้วเหลือแต่เพียงการยืนยันตัวตนเท่านั้น
คุณเห็นปุ่มด้านบนของหน้าเว็ปมั้ยที่เขียนว่า Verifying Documents X Id ส่วนบุคคล X ที่อยู่ส่วนบุคคล คลิ๊กที่ตรงนั้นได้เลยครับ















10.จากนั้นจะขึ้นหน้านี้มา  สิ่งที่คุณต้องทำก็แค่ แสกนบัตรประชาชนของคุณด้านหน้า เป็นไฟล์รูปภาพ Jpeg แล้วอัพโหลดได้เลย ซึ่งในส่วนการอนุมัตินี้จะใช้เวลา 1-2 วัน หลังจากนั้นคุณก้ฝากเงินแล้วเริ่มทำการเทรดได้แล้ว

วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

SMA200 + Stochastic8,3,3 TimeFrame H4

เอาล่ะมาดูตัวอย่างเงื่อนไขการเข้าออเดอร์กัน

          เราจะอาศัยการกำหนดทิศทางการเทรดจากการดูว่าแท่งเทียนนั้นอยู่บนหรือล่างเส้น sma200 ถ้าเท่งเทียนอยู่เหนือเส้น sm200 ให้รอบาย  ถ้าแท่งเทียนอยู่ใต้เส้น sma200 ให้รอหาจังหวะเซล  แล้วรอสัญญาณการเข้าออเดอร์จาก Stochastic 8,3,3 ของเรา


          เมื่อแท่งเทียนอยู่ใต้เส้น sma200 ให้รอจนกว่า stochastic เข้าไปอยู่ในโซน 80 (Overbought) เราจะเปิดออเดอร์เซล


          เมื่อแท่งเทียนอยู่เหนือเส้น sma200 ให้รอจนกว่า stochastic เข้าไปอยู่ในโซน 20 (Oversold) เราจะเปิดออเดอร์บาย

          ด้วยเงื่อนไขการเข้าออเดอร์ดังกล่าวทุกครั้งของการเปิดออเดอร์เราจะตั้งผลตอบแทนต่อความเสี่ยงไว้ที่ 2  ต่อ  1  ด้วยเงินทุนเริ่มต้นในการแบคเทสที่ 10000
          เอาล่ะทีนี้เรามาดูผลลัพธ์หลังจากผ่านไป 100 ออเดอร์กันเลย


          อ่าฮะ  หลังจากการเทรดที่ 100 ออเดอร์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ชนะ 51 เทรด  แพ้ 49 เทรด  ชนะติดต่อกันสูงสุดประมาณ 9 ครั้ง  และแพ้ติดต่อกันสูงสุดประมาณ 7 ครั้ง  แต่เมื่อคุณมองไปที่กราฟด้านบนคุณจะเห็นได้ว่าการเติบโตและการลดลงของเงินทุนนั้นยอดเยี่ยมมาก  อะไรเป็นตัวแปรของผลการเทรดด้านบน  ทั้งๆที่อัตราการชนะต่อแพ้นั้นใกล้เคียงกันมากๆ  คำตอบคือ อัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยง ความสม่ำเสมอและวินัยของการทำตามระบบนั่นเอง  ตัวอย่างด้านบนนี้คือทุกๆเทรดที่เสียจะเสียครั้งละประมาณ 150 และเมื่อชนะจะทำได้ครั้งละประมาณ 300
          ทีนี้คุณรู้แล้วใช่มั้ยว่าจะต้องทำอย่างไรในการเทรดของคุณ

***ช่วงเวลาที่ใช้ในการทดสอบระบบคือตั้งแต่วันที่ 19/02/2001 ถึงวันที่ 03/01/2003 คู่เงิน USD/JPY ทดสอบผ่านโปรแกรม Forex Tester

          จากตัวอย่างด้านบนเราไม่ได้คำนวนเงินแต่ละออเดอร์เป็นเปอร์เซ็นต์  ทีนี้เรามาดูกันว่าถ้าตามค่าเฉลี่ยจากตัวอย่างด้านบน โอกาสแพ้ชนะของเราน่าจะอยู่ที่ราวๆ 50 เปอร์เซ็นวิน ถ้าเราใช้ความเสี่ยงแต่ละออเดอร์โดยคิดเป็นเปอร์เซ็นทุกไม้ผลลัพธ์จะเป็นเช่นไร
          กราฟด้านล่างเป็นการกระจายตัวทางสถิติ โดยการคำนวน จากอัตราการแพ้ชนะที่ 50 เปอร์เซ็นวิน โดยใช้อัตราผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ 2 ต่อ 1 คำนวนชุดละ 200 ออเดอร์ เอาล่ะเรามาดูผลลัพธ์กันดีกว่า
          ภาพแรกนี้เป็นการใช้ความเสี่ยงที่ 2% ต่อออเดอร์

          ส่วนภาพนี้เป็นการใช้ความเสี่ยงที่ 5% ต่อออเดอร์ครับ

          

การกำหนดจุดตัดขาดทุน Stop Loss Order

          ตลาดนั้นมักจะทำตามใจของมัน และเคลื่อนไหวไปตามอย่างที่มันต้องการ ทุก ๆ วันนั้นจะมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ และไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม การเมือง เศรษฐกิจ หรือข่าวจากธนาคารกลาง สามารถทำให้ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่มันต้องการเร็วเกินกว่าที่มือของคุณจะคว้าอะไรไว้ได้ทัน
          นี่หมายความว่า แต่ละคนนั้นจะมีโอกาสที่จะเทรดคนละด้านกับตลาด
          การเสียนั้นไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมว่าเราควรจะทำอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นได้ และคุณสามารถตัดขาดทุนของคุณได้อย่างรวดเร็วแทนที่จะถือมันไปแล้วจะรอมันกลับมา
          แน่นอน ว่าเสียแค่ครั้งเดียว มันอาจจะหมายถึงการเสียจนหมดตัวได้
          มีคำพูดหนึ่ง กล่าวว่า มีชีวิตอยู่เพื่อเทรดวันถัดไป คำพูดนี้ควรจะเป็นคติพจน์สาหรับมือใหม่ทุกคน เพราะว่า ยิ่งคุณอยู่ได้นานเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น ได้ประสบการณ์ และเพิ่มโอกาสในการประสบความสาเร็จ
          ซึ่งทำให้การ Stop loss เป็นทักษะและเครื่องมือที่สำคัญของเรา
          การตัดสินใจจุดออกไว้ก่อน ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถหยุดขาดทุนไว้ แต่ยังให้คุณมีโอกาสเทรดใหม่ครั้งต่อไป และกำจัดความเครียดของคุณได้ จากการเทรดโดยไม่อิงแผนการ  ยิ่งความกดดันน้อย ยิ่งดี ใช่ไหม? แน่นอนว่ามันดี ดังนั้นเราควรจะตัดสินใจตัดขาดทุนให้เร็ว
          Stop Loss ของคุณควรจะมีอยู่ในความคิดของคุณ ก่อนที่คุณจะเทรดแล้ว  เมื่อราคามันถึงจุดนี้ มันควรจะบอกคุณได้ว่า ได้เวลาต้องปิดออร์เดอร์แล้ว
          เนื้อหาถัดไป เราจะพูดถึงการตั้ง Stop loss วิธีต่าง ๆ
          ต่อไปนี้ผมจะอธิบายเกี่ยวกับ 2 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกันในการตั้ง Stop Loss  คือ Equity Stop และ Chart Stop

Equity Stop
          มาดูตัวที่เป็นพื้นฐานกันจริง ๆ ก่อน คือ Equity Stop หรือ จุดหยุดขาดทุนตามต้นทุน
          ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อ คือ เปอร์เซ็นต์ Stop เพราะว่า มันวัดจากขนาดของบัญชีของเทรดเดอร์ สมมุติว่า 2 % ซึ่งเทรดเดอร์อยากจะเสี่ยงในการเทรด
          เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เทรดเดอร์ว่า อาจจะน้อยหน่อย หรือมากหน่อย ซึ่งอาจจะถึง 10 % ของบัญชีของพวกเขา หรือบางคนอาจจะใช้ 2 % จากเทรดเพียง หนึ่งครั้ง
          เมื่อเราคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ เทรดเดอร์จะใช้ ขนาดของออร์เดอร์ในการคำนวณว่า เขาควรจะตั้งจุด Stop loss เท่าไหร่ดีใช่มั้ย
          แต่จริงๆแล้วการตั้ง stop loss ที่ดีคุณควรจะจะต้องตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาด หรือ ตามระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งเป็นจุดตายตัวว่าคุณควรจะเสียเท่าไหร่

Chart Stop
          คือการตั้ง Stop Loss ตาม สิ่งที่กราฟบอก
          เมื่อเราเทรดเราควรจะต้อง Stop loss ตามที่ตลาดบอกเรา พอเข้าใจไหม?
          สิ่งหนึ่งที่เรารู้คือพฤติกรรมราคา ซึ่งจะมีจุดที่ราคานั้นจะเคลื่อนไหวอยู่จุดใดจุดหนึ่งแน่นอน
และบ่อยครั้ง ที่มันจะเคลื่อนไหวอยู่แถวแนวรับแนวต้าน หรือ มีการทดสอบแนวรับแนวต้าน บางครั้งก็อาจจะทะลุไปเฉย ๆ
          การตั้ง Stop loss ให้ห่างจากแนวพวกนี้หน่อย จะเป็นการดี เพราะว่า ถ้าตลาดนั้นมีการเทรดอยู่ในพื้นที่นี้ และเวลาที่มันเกิดจุด Break out จุดนั้นเทรดเดอร์ก็จะต้องปิดออร์เดอร์เพราะมีคนเข้ามาเทรดเพิ่มขึ้น ทาให้ราคาเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ของคุณ  หรือ ถ้ามันเกิดจุด Break out มันอาจจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
เรามาดูตัวอย่างการตั้ง Stop Loss ตามแนวรับแนวต้านกัน :


ตามกราฟข้างบน เราจะเห็นว่าค่าเงินนั้นเทรดอยู่ข้างบนเส้นเทรนด์ไลน์
คุณเลยตัดสินใจว่า คุณจะส่งออร์เดอร์ Buy
แต่ก่อนที่คุณจะเทรด ต้องถามตัวเองตามคาถามต่อไปนี้ก่อน :
คุณจะตั้ง Stop Loss ที่ไหน? ?
แล้วเงื่อนไขไหนที่คุณออกจากการเทรด?


ในกรณีนี้ เราควรจะต้อง Stop Loss ให้ต่ากว่าเส้นเทรดไลน์ และ เส้นแนวรับ
ถ้าตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในบริเวณนี้ หมายความว่า Trend line นั้นไม่มีคนซื้อมารองรับ และฝั่ง ผู้ขายกาลังครอบงำตลาด  และคุณควรจะออกจากการเทรด และยอมรับการขาดทุน

ข้อผิดพลาดในการใช้ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
          ในส่วนนี้เรากาลังพูดถึง ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์ในการใช้ Stop loss ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการฝึก การจัดการการเงินที่ดี แต่ว่าถ้าคุณใช้มันไม่ถูกต้อง มันอาจจะทาให้คุณเสียมากกว่าได้กำไร และคุณคงไม่อยากให้มันเกิดใช่ไหม?

การตั้ง Stop loss แคบเกินไป
          ความผิดพลาดอย่างแรก ก็คือการตั้ง Stop Loss แคบเกินไป และทำให้ไม่มีช่องให้มันราคามันสวิงเลย ! การตั้ง Stop Loss แคบเกินไป ทำให้ไม่มีช่องให้ราคาแกว่งตัวก่อนมันจะเคลื่อนไหวไปตามทิศทางของมัน
          จำเรื่องความผันผวนของค่าเงินได้ไหม เพราะมันจะขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่กับจุดเข้าจุดออกของคุณก่อนที่จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่มันจะเป็น
          สมมุติว่าคุณ Buy GBP/JPY ที่ราคา 145.00 ด้วย Stop Loss ที่ 144.90 แม้ว่าคุณจะทายถูกว่ามันจะวิ่งไปทางไหน ซึ่งราคาอาจจะวิ่ง 10 – 15 จุด สวิงไปมาบริเวณจุดเข้าของคุณ ก่อนมันจะไปในทิศทางที่คุณคิดบางทีอาจจะไปถึง 147.00
แต่ลองคิดดูสิ คุณไม่ได้กาไร 200 จุดหรอก เพราะ ออร์เดอร์คุณ ชน Stop Loss ไปแล้ว
ดังนั้นอย่าลืม : ต้องมีช่องว่างให้ราคาแกว่งตัวด้วย !

การใช้ ขนาดของ ออร์เดอร์เป็นเกณฑ์ Stop Loss
          เราพูดก่อนหน้านี้ว่า การใช้ ขนาดของออร์เดอร์ช่วยในการตั้ง Stop Loss แทนที่จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นตัวกาหนด Stop Loss ไม่ใช่ไอเดียที่ดี เราเรียนรู้ไปแล้ว จำได้ไหม?
          การใช้ ขนาดของออร์เดอร์มากำหนดว่า เราควรจะต้อง Stop Loss จุดไหนนั้นไม่เหมาะสมกับการเทรดในตลาด เพราะว่า เราเทรดในตลาด เราก็ควรจะใช้การเคลื่อนไหวของตลาดตั้ง Stop Loss
ถ้าคุณใช้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการหาจุดเข้า เราก็ควรใช้มันกาหนดจุด Stop Loss เหมือนกัน


เราไม่ได้บอกว่า ให้คุณลืมเรื่องการใช้ การกำหนดขนาดออร์เดอร์ไปเลย สิ่งที่เราแนะนาคือ คุณควรกำหนด Stop Loss ก่อนที่จะคานวณขนาดของออร์เดอร์

การตั้ง Stop Loss ไกลเกินไป
          เทรดเดอร์บางคนชอบตั้ง Stop Loss ไว้ไกลมาก  แล้ว ประเด็นของการ ตั้ง Stop Loss คืออะไร? ประเด็นของการถือออร์เดอร์ที่ขาดทุน คืออะไร? จะดีกว่ามั้ยถ้าคุณจะเอาเงินไปทำกำไรในออร์เดอร์ถัดไป
          การตั้ง Stop Loss ห่างเกินไปทาให้เพิ่มจานวนที่ต้องทำกำไรเยอะ เพื่อให้คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
          กฏทั่วไปในการตั้ง Stop Loss คือ ตั้งให้ใกล้จุดเข้ามากกว่าจุดทำกำไร
          แน่นอนคุณต้องการจะเสี่ยงน้อย และได้กำไรเยอะ ๆ ใช่ไหม? เช่น อัตรากาไรต่อขาดทุนเท่ากับ 2: 1 ก็คงดี ถ้าคุณเทรดได้กำไร 50 ครั้ง คุณก็กำไรมหาศาลแล้ว

ตั้ง Stop Loss บนเส้น แนวรับแนวต้านเลย
          การตั้ง Stop Loss แคบเกินไป ? ไม่ดีใช่ไหม การตั้ง Stop loss กว้างไปหล่ะ ? ก็ไม่ดีอีก งั้นควรจะตั้งที่ไหน ดี? อืมมมม จริง ๆ ก็ควรจะอยู่แนวๆ แนวต้านแนวรับ
          ทำอย่างไร? การใช้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคตั้ง Stop Loss เป็นเรื่องที่เหมาะสม
          แน่นอน เรื่องนี้ใช้ได้ และการตั้ง Stop Loss ใกล้กับ แนวรับแนวต้านเป็น Stop Loss ที่เหมาะสม ไม่ใกล้ และไกลเกินไป
          ถ้าคุณ กาลังจะ Buy คุณเพียง หาจุด Stop Loss แถว ๆ แนวรับ และตั้ง Stop loss ข้างล่างนั้นหน่อยนึง
          ถ้าคุณ กาลังจะ Sell คุณก็หาจุด Stop Loss ให้เหนือแนวต้านไปนิดหน่อย
          แล้วทำไมเราไม่ตั้งให้มันตรงกับแนวรับแนวต้านมันไปเลยล่ะ
          เหตุผลก็คือ ราคายังคงมีโอกาสกลับมาชนกับแนวรับแนวต้านอยู่ ถ้าคุณ ต้อง Stop Loss ใกล้ หรืออยู่บนนั้น มันก็อาจจะชน Stop Loss แต่ถ้าคุณ ตั้งเลยจากนั้นไปซักหน่อย ถ้ามันทะลุขึ้นมาหมายความว่าคุณวิเคราะห์ทิศทางราคาผิด

จะตัดขาดทุนอย่างไร
          เมื่อคุณทำการบ้านของคุณมาพร้อม และมีแผนการเทรดที่ดี และมีจุด Stop Loss แล้ว ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าคุณจะตัดขาดทุนได้หรือไม่ ถ้าราคามันเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ของคุณ
          มีวิธีสองวิธีที่ช่วยให้คุณตัดขาดทุนได้คือ วิธีแรก ใช้ Stop Loss อัติโนมัติ อีกวิธีคือ ตั้งมันไว้ในใจของคุณเอง
แล้วแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด ?
          ถ้าราคาตลาดมาถึงจุด Stop Loss ของคุณ คุณไม่มีเหตุผลที่จะต้องถือออร์เดอร์ ต่อไปเพราะว่า คุณ เข้าผิดทาง และ ต้องปิดออร์เดอร์ทัน ทีโดยไม่มีคาถาม !
          นี่เป็นเหตุผลว่านักเทรดฟอร์เร็ก ได้คิด Limit Order ขึ้นมา นักเทรดหน้าใหม่ ควรจะใช้ Limit Order เพื่อการปิดออร์เดอร์ อัติโนมัติ ตามที่ตั้งไว้ (Limit Order = Stop Loss)
          วิธีนี้จะไม่ทำให้คุณมีเวลาสงสัยในแผนของคุณ และถ้าพลาดขึ้นมา คุณจะไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอในการปิดออร์เดอร์ด้วยซ้ำ
          ยิ่งคุณเทรดมากขึ้น คุณก็จะได้ประสบการณ์มากขึ้น และ หวังว่าคุณคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมราคา เกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ และวินัยที่คุณต้องมี
          แม้ว่าการใช้ Stop Loss ตั้งไว้ในใจก็ได แต่ว่าการตั้ง Stop Loss แบบ Limit order ก็นั้นปลอดภัยมากกว่า
          การปิดออร์เดอร์ด้วยตัวคุณเองอาจจะทาให้เกิดข้อผิดพลาดได้(โดยเฉพาะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นมาก่อน) เช่น เข้าผิดช่วงราคา หรือ ผิดขนาดออร์เดอร์ คุณท้องเสีย และอื่น ๆ
อย่าปล่อยออร์เดอร์ของคุณทิ้งไว้โดยไม่มี Stop Loss
          เพราะว่า Stop Loss ไม่ได้ตั้งไว้ตายตัวเสมอไป ฉะนั้น เราจะมาจบบทเรียนด้วยสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการย้าย Stop Loss
          1. อย่าปล่อยให้อารมณ์มาครอบงำในการเคลื่อนย้าย Stop Loss การตั้ง Stop Loss ของคุณ ควรมีการตัดสินใจไว้ตั้งแต่ก่อนที่คุณจะเทรด
          2. ตั้ง Trailing Stop หมายความว่า ให้คุณย้าย ตามทิศทางที่ราคาเป็นไปตามอย่างที่คุณคิด หรือ ได้กำไร ซึ่งทำให้คุณได้กำไรแน่นอน และจัดการความเสี่ยงได้ดี
          3. อย่า เพิ่ม Stop Loss การเพิ่ม Stop Loss จะทำให้ความเสี่ยงและปริมาณการสูญเสียของคุณเพิ่มขึ้น ถ้าตลาดนั้นเคลื่อนไหวชน Stop Loss หมายความว่า ออร์เดอร์ของคุณควรจะปิด แล้วค่อยรอโอกาสต่อไป การย้าย Stop Loss ไม่ต่างอะไรกับการไม่ Stop Loss ฉะนั้น อย่าขยาย Stop Loss ของคุณเด็ดขาด !
          กฏเหล่านี้ค่อนข้างธรรมดาและง่ายต่อการทาความเข้าใจ และควรต้องทำตามให้ได้ โดยเฉพาะข้อ 3 !
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง
อย่าเพิ่ม Stop Loss!
          จำไว้เสมอว่า ควรจะวางแผนการเทรดไว้ก่อนหน้า ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไหน จะต้องทำอย่างไร อย่าลนลาน แล้วมาเสียใจภายหลัง

สรุป: การตั้ง Stop Loss
          ตอนนี้คุณได้เรียนรู้การตั้ง Stop Loss จากเราแล้ว เรามาทบทวนส่งที่ต้องจาเกี่ยวกับ Stop Loss กัน
          1. หาโบรคเกอร์ที่มีเงื่อนไขการเทรด ขนาดของออร์เดอร์ที่เหมาะกับคุณ และการจัดการความเสี่ยงของคุณ
          2. เราพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า ให้คิดไว้ก่อน เพราะว่าคุณควรรู้ว่า จะปิดออร์เดอร์ตอนไหน ก่อนที่คุณจะปิดออร์เดอร์เสียอีก เมื่อคุณเทรดและคุณกาลังขาดทุน คุณจะสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจในการเทรด และทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย !
          3. ตั้ง Stop Loss ตามสภาวะตลาด และตามวิธีการเทรด อย่าตั้ง Stop loss ตามใจตัวเองว่าอยากจะเสียเท่าไหร่ ตลาดไม่รู้หรอกว่า คุณอยากจะเสียเงินเท่าไหร่ ไม่ต้องห่วง หาจุด Stop Loss ที่คิดว่าจะยอมเสียถ้ามันไปจุดนั้นแล้วปรับความเสี่ยงให้เข้ากับมัน
          4. ใช้ Limit Order ในการปิดออร์เดอร์ของคุณ การใช้ Stop Loss ไว้ในใจ ควรจะใช้เมื่อคุณเทรดมาเป็นล้าน ๆ ออร์เดอร์แล้ว!
          5. เคลื่อนย้าย Stop Loss เมื่อมันได้กำไรแล้ว การตั้ง Trailing Stop สมควรอย่างยิ่ง การขยาย Stop Loss ขณะที่คุณยังขาดทุนอยู่ นั้น แย่มาก!
          เหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ในการเทรด การตั้ง Stop Loss เหมือนกับศาสตร์ และศิลป์  ตลาดนั้น เคลื่อนไหวไม่ตายตัวอยู่ตลอดเวลา และมีความผันผวนด้วย และกฏที่ใช้ได้ตอนนี้อาจจะใช้ไม่ได้ สำหรับวันข้างหน้า
          ถ้าคุณยังฝึกอย่างถูกวิธี ในการตั้ง Stop Loss บันทึกผลการเทรดและทบทวนกระบวนการเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในบันทึกการเทรดของคุณแล้ว  คุณจะกลายเป็นผู้หนึ่งที่ก้าวเข้าใกล้ความสาเร็จไปทุกที!

ความสาคัญของขนาดของออร์เดอร์ที่ถูกต้อง

          ตอนนี้เราจะได้เรียนรู้การใช้ขนาดของออร์เดอร์ที่ถูกต้อง
          ขนาดของออร์เดอร์ คือ จานวน lot ของแต่ละออร์เดอร์ที่คุณทาการ Buy หรือ Sell ค่าเงิน
นี่เป็นหนึ่งในทักษะการเทรดที่สาคัญ


เราขอย้ำว่านี่เป็นทักษะที่สาคัญ
          เทรดเดอร์ คือ ผู้จัดการความเสี่ยง นั่นคือความหมายที่ชัดเจนที่สุด ก่อนที่คุณจะเริ่มเทรดเงินจริง ๆ  คุณควรจะต้องคานวณขนาดของออร์เดอร์ในใจได้ !
          การเทรดขนาดของออร์เดอร์ที่ถูกต้องจะทำให้คุณรู้สึกไม่กังวลต่อความเสี่ยง
          เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับค่าเงินที่คุณกาลังเทรดและบัญชีของคุณ(ว่าเป็นบัญชี ดอลล่าร์ ยูโร ปอนด์ ฯลฯ) คุณต้องมีขั้นตอนในการคำนวณซักสองสามขั้นตอน
ทีนี้ ก่อนที่เราจะเริ่มคานวณ เรามาดูข้อมูล 5 อย่างที่ต้องใช้กัน :
1. ยอดรวมในบัญชี
2. ค่าเงินที่คุณเทรด
3. % เงินในบัญชีที่คุณอยากจะเสี่ยง
4. Stop loss กี่จุด
5. ราคาของค่าเงินตอนนั้น
ไม่ยากใช่รึเปล่า ? มาดูกันต่อ

การคำนวณขนาดของออร์เดอร์
เพื่อให้เข้าใจง่าย เราจะอธิบายด้วยตัวอย่างแทน
คนนี้เป็นมือใหม่ ชื่อ กอล์ฟ
          นานมาแล้ว ตั้งแต่เขาไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเทรดเลย เขาล้างพอร์ท เพราะว่าเขาเทรด Lot ใหญ่เกินไป
เขาเทรดด้วย Position ที่ใหญ่เกินไป!!!
          กอล์ฟไม่ได้เข้าใจความสาคัญของ ขนาดของออร์เดอร์ ต่อขนาดบัญชีของเขา
          เขากลับมาเรียนรู้คราวนี้เพื่อให้เขาเข้าใจยิ่งขึ้น และเพื่อเขาจะได้รู้ว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขา และมันจะไม่เกิดกับคุณ !
          ตามตัวอย่าง เราจะแสดงให้คุณเห็นว่า เราจะคำนวณขนาดของออร์เดอร์ของคุณในบัญชี และขนาดของความเสี่ยงที่คุณยอมรับได้
          ขนาดของออเดอร์นั้นไม่เกี่ยวกับว่า หน่วยเงินในบัญชีจะตรงกับ ค่าเงินที่คุณเล่นหรือไม่

หน่วยเงินในบัญชีกับค่าเงิหน่วยเดียวกัน
          กอล์ฟได้ฝากเงิน 5,000 เหรียญสหรัฐในบัญชีเทรด เขาพร้อมที่จะเทรดอีกครั้ง ตอนนี้เขาใช้ระบบ Swing Trade และเทรด EUR/USD และเขาเสี่ยงที่ 200 จุดต่อการเทรด 1 ครั้ง
          หลังจากที่เขาล้างพอร์ทมาหนึ่งครั้งเขา สัญญากับตัวเองว่าจะไม่เสี่ยงมากกว่า 1 % ของบัญชีเทรดของเขาต่อการเทรด 1 ครั้ง มาดูที่ขนาดของออร์เดอร์ขนาดไหนที่เขาควรจะเสี่ยง
          ใช้ยอดเงินในบัญชี และจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่คุณอยากเสี่ยง และคำนวณเป็นหน่วยดอลล่าร์
USD 5,000 x 1% (หรือ 0.01) = USD 50
          แล้ว ต่อไปเอาจะนวนเงินที่คุณเสี่ยงได้ หารด้วยจานวนจุดที่คุณ ตั้ง Stop loss คุณก็จะได้ขนาด กำไรหรือขาดทุนต่อ 1 จุด ของค่าเงิน
(USD 50)/(200 pips) = USD 0.25/pip
        ไม่ยากใช่รึเปล่า?

สรุป : ขนาดของออร์เดอร์


          ตอนนี้คุณเป็นนักจัดการความเสี่ยงที่ชำนาญแล้ว
          ถ้าคุณรู้ว่าจะต้องกำหนดขนาดของออร์เดอร์ที่ถูกต้องอย่างไร นั้นเป็นส่วนของการจัดการความเสี่ยง
ส่วนที่เหลือก็คือ วินัยในการเทรด
          คุณต้องทำตาม Stop Loss เข้าออกตามกฏของคุณ และเมื่อคุณมั่นใจคุณก็จะมั่นใจในการทำกำไรยิ่งขึ้น
          สุดท้าย เรารู้ว่าคุณไม่ชอบพกเครื่องคิดเลข และ ไม่ได้มีโปรแกรมคำนวณขนาดของออร์เดอร์ ติดกับโปรแกรมเทรดของคุณ เรามี เครื่องช่วยคำนวณ ออร์เดอร์สาหรับคุณ position sizing calculator !
เยี่ยมไหม ถึงเวลาปรมมือแล้ว เย้ ๆ ๆ ๆ ๆ ขอบคุณครับ ไม่เป็นไร
          ใช้เครื่องคิดเลข ถ้าคุณอยากจะใช้ ...
          คุณควรจะใช้มันทุก ๆ ครั้งที่คุณอยากจะเทรด
เหมือนที่คำเก่า ๆ กล่าวไว้เสมอว่า " ปลอดภัยไว้ก่อนดีกว่ามาพูดว่า เสียใจ ทีหลัง "

อะไรคือการจัดการความเสี่ยง?

นี่เป็นบทที่สาคัญมากที่คุณเคยอ่านมาเลย
          ทาไมมันถึงสาคัญ เพราะว่า เราอยู่ในธุรกิจการทากาไร และในการที่จะทากาไรได้ เราก็ต้องเรียนรู้การจัดการความเสี่ยง
          พูดได้ว่า นี่เป็นส่วนที่คนอื่นมองข้ามมากที่สุดในการเทรด เทรดเดอร์หลายคนนั้นสนใจเฉพาะการเทรดโดยไม่สนใจเรื่องขนาดของบัญชีของพวกเขา
          ซึ่งพวกเขาคิดแค่ว่าบัญชีที่เขามีอยู่นั้นรองรองขาดทุนได้กี่จุด และการเทรดแบบนั้นเรียกว่า ...
การพนัน !

          ถ้าคุณเทรดโดยไม่สนใจเรื่องกฏการจัดการการเงิน คุณเป็นนักพนัน คุณไม่ได้มองระยะยาวในการลงทุนของคุณ คุณแค่รอให้คุณได้แจ็คพอท แค่นั้นเอง
          กฏการจัดการการเงินนั้นไม่เพียงแต่ป้องกันคุณจากการขาดทุน แต่ยังทาให้คุณได้กาไรในระยะยาว ถ้าคุณไม่เชื่อเรา และคิดว่า การพนัน นั้นเป็นทางเดียวที่จะทาให้เรารวย มาดูตัวอย่างนี้กัน :
          คนที่ไป Las Vegas จะไปเล่นพนันเพื่อหวังว่าจะชนะแจ็คพอร์ท และจริง ๆ แล้วพวกเขาก็ชนะเหมือนกัน
แล้วในทาไมในโลกนี้ คาสิโนยังได้กาไร ถ้ามีคนตั้งเยอะชนะและได้แจ็คพอท ?
          คำตอบก็คือขณะที่พวกเขาได้แจ็คพอท ระยะยาวแล้ว คาสิโนก็ยังกาไรเพราะว่า พวกเขาจะได้เงินเยอะกว่าเดิมจากคนที่ไม่ได้ชนะแจ็คพอท และ เลยมีคาพูดที่ว่า บ่อนชนะเสมอ
          ความจริงก็คือ คาสิโน นั้นเป็นนักสถิติที่ดีเท่านั้นเอง พวกเขารู้ว่า ในระยะยาวแล้ว พวกเขาจะได้เงิน ไม่ใช่นักพนัน
          แม้ว่า Joe Schmoe ชนะ $100,000 ตอนเล่น สลอท แมชชีน คาสิโนก็รู้ว่าจะมีนักพนันอีกเป็นร้อยที่ไม่ชนะ และเงินจะเข้ากระเป๋าพวกเขา
          นี่เป็นตัวอย่างง่าย ๆที่นักสถิตินั้นทาเงินจากนักพนันได้อย่างไร แม้ว่าทั้งสองฝ่ายจะเสียเงิน แต่ว่าคาสิโนรู้ว่าพวกเขาจะควบคุมการเสียเงินของพวกเขาอย่างไร ซึ่งเป็นการจัดการการเงิน ถ้าคุณรู้ว่าจะควบคุมการเสียของเขาอย่างไร คุณจะมีโอกาสในการทำกำไร
          คุณต้องเป็นนักสถิติไม่ใช่นักพนันเพราะว่า ระยะยาว คุณจะเป็นผู้ชนะ
          แล้วคุณจะเป็นนักสถิติอย่างนี้ได้อย่างไร แทนที่จะเป็นผู้แพ้ ?

การใช้เงินทุน
          คือการใช้เงินให้ได้เงินมาอีก ทุกคนรู้แต่ว่าขึ้นอยู่กับว่าใครจะเริ่มด้วเงินเท่าไหร่ คาตอบขึ้นอยู่กับว่าคุณจะเริ่มอย่างไร
          สิ่งแรก ต้องมาดูว่าคุณศึกษามาดีรึเปล่า มีความแตกต่างกันในปัจจัยการเรียนรู้ เช่น บทเรียน ผู้สอน และตัวคุณเอง หรือ ทั้งสามอย่างประกอบกัน
          ขณะที่มีหลายบทเรียน หรือ โค๊ชหลาย ๆ คนที่สอนฟอร์เร็กฟรี ๆ และการที่มีคนสอนหรือมีบทเรียนที่ดีนั้น ย่อมทาให้คุณประสบความสาเร็จได้เร็วขึ้นมากกว่าที่คุณไปฝึกด้วยตัวเองซึ่งบางครั้งก็มีต้นทุนสูง สาหรับบทเรียนที่ไม่ฟรี จากร้อยเหรียญ ไปจน เป็นพันเหรียญ ซึ่งไม่ฟรี
สำหรับใครที่ไม่อยากจ่ายเงินในเรื่องพวกนี้ ข่าวดีก็คือข้อมูลที่คุณอยากได้นั้นหาได้ฟรี ๆ จากอินเตอร์เนท มีทั้งบทความ เว็บไซต์ หรือเว็บโบรคเกอร์เอง
          ตราบเท่าที่คุณเป็นเทรดเดอร์ที่มีวินัยและเรียนรู้ตลาดอยู่ โอกาสในความสาเร็จของคุณจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คุณต้องเป็นนักเรียนที่กระตือรือร้นตลอดเวลา มิฉะนั้น คุณจะจบด้วยความล้มเหลว
          อย่างที่สอง คือ การจะศึกษาตลาดนั้น คุณต้องมีเครื่องต่าง ๆ เช่น โปรแกรมข่าว หรือว่า News Feed ต่าง ๆ และถ้าเป็นนักเทรดที่ใช้เทคนิค ส่วนใหญ่โปรแกรมนั้นมากับโบรคเกอร์ของคุณอยู่แล้ว ซึ่งเพียงพอแล้ว(บางอันก็ดีมาก ๆ )
          ส่วนใครที่ต้องการเครื่องมือที่ดีกว่านั้น หรือว่า โปรแกรมล้ำยุคก็หาได้ตามอินเตอร์เนท ราว ๆ 100 เหรียญต่อเดือน
          และถ้าคุณเป็นคนที่เทรดโดยใช้พื้นฐานคุณต้อง ได้ทุกข่างที่มันอออกมาก รวมทั้งก่อนที่ข่าวจะออกมาด้วย(ได้ก็ดีมาก)
          แต่ ข่าวที่แม่นยานั้นส่วนใหญ่ต้องเสียเงิน และคุณสามารถหาข่าวได้ทั่วไปจากบริการฟรีของโบรคเกอร์อยู่แล้ว แต่ว่า ข่าวที่เร็วกว่า แตกต่างกัน วินาที สองวินาทีก็สามารถวัดความแตกต่างของกาไรได้แล้ว
          สุดท้ายคุณต้องมีเงินทุน ในการเทรด ซึ่งโบรคเกอร์รายย่อยจะมีบริการ mini account ให้คุณ ฝากได้เช่น 25 เหรียญ แต่ว่านั่นไม่ได้หมายความว่าคุณจะกระโดดเข้าไปทันทีนะ ถ้าเข้าใจเรื่องนี้ผิด ๆ ก็จะนำไปสู่ความล้มเหลวด้วย คุณต้องมีเงินทุนพอที่จะผ่านช่วงเวลาที่คุณเสียไปได้ทุกช่วงเวลา
          แล้วคุณต้องใช้เงินทุนเท่าไหร่ คุณต้องซื่อสัตย์ และถ้าคุณฝึกอย่างสม่าเสมอ คุณก็สามารถเริ่มได้กับเงินเยอะ ๆ แม้กระทั่ง 5 หมื่น 1 แสนเหรียญ
          ซึ่งความรู้พื้นฐานทั่วไปของการทาธุรกิจก็คือ ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ล้มเหลว เพราะว่าคุณไม่มีความเข้าใจเรื่องเงินทุน โดยเฉพาะในตลาดฟอร์เร็ก
          ดังนั้นถ้าคุณไม่สามารถเริ่มด้วยเงินก้อนใหญ่ ที่เสียไม่ได้ คุณก็ควรจะเก็บไว้และเรียนรู้จนกว่าคุณจะพร้อม

Drawdown และ Maximum Drawdown
          เรารู้แล้วว่าการจัดการการเงินจะช่วยให้เราอยู่รอดในระยะยาว แต่ว่าตอนนี้เราอยากให้คุณรู้อีกอย่างหนึ่ง จะเกิดอะไรขึ้นถ้าคุณไม่ใช้การจัดการการเงิน?
ลองพิจารณาตัวอย่างนี้กัน :
          สมมุติว่าคุณมีเงินอยู่ 1 แสนเหรียญ และคุณเสีย 5 หมื่นเหรียญ คุณขาดทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินทุน ?
คาตอบก็คือ 50%.
ไม่ยากใช่ไหม?
สิ่งนี้เราเรียกว่า drawdown.
          Drawdown คือการลดลงของเงินทุนหลังจากการเทรดเสีย ซึ่งปกติจะถูกคานวณโดยใช้ความแตกต่างของเงินในบัญชีสูงสุด ลบกับผลขาดทุน ซึ่งเทรดเดอร์พวกเขาจะวัดเป็นเปอร์เซ็นต์

การเสียติดต่อกัน
          ในการเทรด เราจะมองหาความเป็นที่สุดเสมอ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทาไมเทรดเดอร์พัฒนาระบบเทรดขึ้นมา และระบบเทรดที่ได้กำไร 70 % ดูเหมือนจะยอดเยี่ยม แต่ว่า เพราะว่า ระบบเทรดของคุณทำกำไร 70 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้หมายความว่า ทุก ๆ 100 ออร์เดอร์ คุณจะได้กำไร 7 ออร์เดอร์ จาก 10 ออร์เดอร์ ?
คุณจะรู้ได้อย่างไรว่า 70 ออร์เดอร์ของคุณเป็นออร์เดอร์ จะได้กำไรเมื่อไหร่ 100 ออร์เดอร์ ?
          คำตอบก็คือ คุณไม่รู้ เราสามารถ คุณขาดทุนติดกัน 30 ออร์เดอร์ได้ แต่ว่า ระบบก็ยังให้กำไรกับคุณ 70 เปอร์เซ็นต์ แต่คุณต้องถามตัวเองว่า คุณจะอยู่รอดจากเกมส์ได้รึเปล่า ถ้าคุณเสียสามสิบครั้งติดกัน
          นี่คือ เหตุผลว่าทำไมการจัดการการเงินถึงสาคัญ ไม่สาคัญว่าคุณใช้ระบบอะไรอยู่ คุณจะพบการขาดทุนติดต่อกัน แม้แต่นักโป๊กเกอร์มืออาชีพ ที่เล่นโป๊กอยู่ก็จะพบการเสียติดกัน และพวกเขาก็ยังทำกำไรได้ในตอนท้าย
          เหตุผลก็คือ นักโป๊กเกอร์ที่ดี พวกเขามีการจัดการการเงินที่ดี เพราะว่าพวกเขาจะไม่สามารถชนะทุกรายการ พวกเขาจะเสี่ยงด้วยเงินจำนวนน้อยในบัญชีของเขาเพื่อรอดจากการขาดทุนติดต่อกัน
และนี่คือสิ่งที่คุณต้องทาเมื่อคุณเป็นเทรดเดอร์ Drawdown นั้นเป็นส่วนหนึ่งของการเทรด และการเป็นเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น แผนการเทรดเป็นสิ่งที่ทาให้คุณเผชิญหน้ากับการขาดทุน และแผนการเทรดของคุณก็ต้องมีการจัดการความเสี่ยงในนั้นด้วย
          การเสี่ยงน้อยในบัญชีการเทรดของคุณ คุณจะสามารถอยู่รอดจากการขาดทุนติดต่อกันได้ จำไว้ว่า ถ้าคุณฝึกอย่างมีวินัย ในการใช้การจัดการการเงิน คุณจะกลายมาเป็นบ่อน และ บ่อนคาสิโนก็ทำกำไรได้ในระยะยาวเสมอ
          ในส่วนต่อไป เราจะแสดงให้เห็นว่า เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณใช้การจัดการการเงิน และ เมื่อคุณไม่ใช้จะเป็นอย่างไร

อย่าหมดตัว
          นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่า การเสี่ยงด้วยเงินน้อย ๆ และเปรียบเทียบกับการเทรดที่มีความเสี่ยงสูง
เสี่ยง  2% กับ 10%


          คุณจะเห็นว่า มันแตกต่างกันมากระหว่างการเสี่ยงสองเปอร์เซ็นต์ และการเสี่ยง 10 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละครั้งในการเทรด ถ้าคุณเกิดการเสียติดกันอย่างตัวอย่างเสีย 19 ครั้งติดกัน คุณจะเหลือเงินเพียงแค่ $3,002 ถ้าคุณเลือกที่จะเสี่ยง 10% ซึ่งมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ ถ้าคุณเสี่ยง 2% คุณจะเหลือเงิน $13,903 ซึ่งคุณเสียเงินไปแค่ 30% ของเงินในบัญชีของคุณ
          แน่นอนว่า นั่นเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราจะทา คือเสียติดกัน 19 ครั้ง แต่ว่า แม้ว่าคุณเสียติดกัน 5 ครั้ง มันก็แตกต่างกันมากเช่นกันในการเสี่ยง 2 เปอร์เซ็นต์กับ 10 เปอร์เซ็นต์และยังเหลือเงิน $18,447 ถ้าคุณเสี่ยง 10% คุณจะเหลือเงิน แค่ $13,122. แต่นั่นก็น้อยกว่าคุณเสี่ยง 2 % ที่เสียติดกัน 19 ครั้งอีก !
          ประเด็นก็คือ คุณต้องใช้การจัดการการเงิน เมื่อคุณเจอกับ Drawdown คุณจะยังมีเงินเหลือ
คุณลองจินตนาการว่าถ้าคุณเสีย 85% ดูสิ ?!!
คุณต้องทำกำไรเพิ่มถึง 566% เพื่อที่จะให้ได้กลับมาเท่าทุนอีกครั้ง
เชื่อเราสิ คุณไม่ต้องการให้มันเป็นอย่างนั้นหรอก ต่อไปนี้เป็นตารางที่จะให้คุณเห็นว่า คุณจะต้องทำเป็นจำนวนเท่าไหร่ถึงจะกลับมาเท่าเดิม ถ้าคุณขาดทุนในจำนวนเท่านั้น


          คุณจะเห็นว่า ยิ่งคุณเสียเยอะ มันก็ยิ่งยากที่จะกลับมาเท่าทุนได้ ซึ่งนี่เป็นเหตุผลว่า คุณต้องวางแผนในการเทรดให้ดี
          ตอนนี้เราหวังว่าคุณคงซึมซับบ้างแล้วเรื่องควรจะเสี่ยงน้อยที่สุดในแต่ละการเทรดซึ่งจะทำให้คุณรอดจากการขาดทุนติดต่อกัน จำไว้ว่าคุณต้องเป็นบ่อน ไม่ใช่นักพนัน !

Reward-to-Risk Ratio
          อีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสในการเทรดคือ สามารถได้กำไรมากกว่าที่คุณเทรดได้ สามเท่า ถ้าคุณใช้อัตราส่วนกำไรต่อขาดุทน เท่ากับ 3:1 reward-to-risk ratio คุณก็จะมีโอกาสในการทำกำไรได้ในระยะยาว ลองมาดูตัวอย่างข้างล่างกัน :


          ตามตัวอย่างคุณจะเห็นว่าแม้ว่าคุณเทรดชนะแค่ 50 % แต่คุณก็ยังได้กาไรตั้ง $10,000 แต่จาไว้ว่าเมื่อไรก็ตามที่คุณเทรดตามอัตราส่วนที่ดี คุณก็ยังมีโอกาสกำไรแม้ว่าเปอร์เซ็นต์ ชนะคุณจะต่า

แต่...
          แต่ปัญหาก็คือ การตั้งค่า reward-to-risk ratio มากเกินไป บางครั้งก็อาจจะฟังดูดี แต่เราจะปรับใช้ในการเทรดจริงอย่างไร
          สมมุติว่าคุณเป็น scalper และคุณอยากจะเสี่ยง 3 จุด ใช้ อัตราส่วน 3:1 reward to risk ratio นั่นหมายความว่าคุณต้องได้กำไร 9 จุด ซึ่งคุณก็จะต้องจ่ายค่า Spread ด้วยอย่าลืม
          ถ้าโบรคเกอร์ของคุณมี Spread 2 จุด คู่เงิน EUR/USD คุณจะต้องทำกำไรให้ได้ 11 จุด ซึ่งแทบจะเป็น 4: 1 เลยทีเดียว ซึ่ง EUR/USD สามารถเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ที่คุณเทรด3 จุด อย่างง่ายดาย และคุณก็จะขาดทุนอย่างรวดเร็ว
          ถ้าคุณลด ขนาดออร์เดอร์ลงคุณก็สามารถขยาย Stop loss ของคุณออกได้ ตอนนี้ถ้าคุณเพิ่มเพิ่มความเสี่ยงเท่ากับ 50 จุด คุณต้องได้กาไร 153 จุด ซึ่งคุณจะสามารถใช้อัตรา RR เท่ากับ 3:1 ได้ ดีขึ้นใช่ไหม?
          ในโลกแห่งความจริง reward-to-risk ไม่ได้ตายตัว ต้องปรับใช้ตาม Time Frame และสภาพแวดล้อมตลาด และจุดเข้าจุดออกของคุณเอง บางออร์เดอร์ อาจจะมี RR ถึง 10:1 บางออร์เดอร์กลับมีแค่ 0.7:1.

สรุป: การจัดการความเสี่ยง
          ทาตัวเป็นบ่อน ไม่ใช่นักพนัน !
          จำไว้เสมอว่า บ่อนเป็นนักสถิติที่ร่ำรวย !
          การจัดการความเสี่ยงมันทำให้เงินทำเงินให้เราได้ แม้ทุกคนจะรู้ แต่ว่าพวกเขาไม่รู้จะเริ่มอย่างไรในการเทรด และคำตอบนั้นขึ้นอยู่กับพวกเขาเอง
          Drawdown นั้นมีอยู่จริง และจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
          ยิ่งคุณเสียมากเท่าไหร่ คุณก็จะกลับมาได้กำไรเท่าทุนนั้นยากขึ้น ซึ่งด้วยเหตุนี้คุณต้องทำทุกอย่างเพื่อปกป้องเงินทุนของคุณ
          เราหวังว่าคุณคงได้อะไรบ้างจากการเสี่ยงให้น้อยที่สุดในการเทรดเพื่อที่จะเอาตัวรอดในระยะยาวได้และหลีกเลี่ยงการเกิด Drawdown ในบัญชีของคุณ
          ยิ่งคุณเสียเงินน้อยเท่าไหร่ คุณก็มี Drawdown น้อยเท่านั้น ยิ่งคุณเสียเยอะ มันก็จะกลับมาเท่าเดิมยากเท่านั้น
          ซึ่งหมายความว่าคุณควรเทรดด้วยเปอร์เซ็นต์ต่า ๆ ยิ่งต่ายิ่งดี
น้อยได้อีก

คุณควรจะเสี่ยงที่ 2% หรือน้อยกว่า
          แม้ว่าคุณอยากจะใช้ อัตรา reward to risk สูง แต่ว่าต้องมาดูโลกแห่งความเป็นจริง เพราะว่ามันไม่สามารถจะใช้แบบนั้นตายตัวได้ตลอด  ซึ่งจะต้องปรับเสมอขึ้นอยู่กับ Time Frame สภาพตลาด และจุดเข้าจุดออกของคุณ

วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่นที่ (Moving Average)

          ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นวิธีธรรมดา ๆ วิธีหนึ่งในการที่จะทำให้การเคลื่อนไหวของราคานั้น ดูเรียบขึ้น คำว่า ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้นหมายความว่าเราจะใช้ ราคาปิดเฉลี่ยของค่าเงินในจำนวนช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งขึ้นมา


          เหมือนกับ อินดิเคเตอร์ตัวอื่น ๆ (ใช้คำว่า Moving Average แทน ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่) Moving Average ใช้ในการคาดเดาราคาในอนาคต โดยดูความชันของค่าเฉลี่ย ซึ่งคุณจะสามารถทำนายทิศทางราคาว่าจะไปในทิศทางใด
          อย่างที่เราบอก Moving Average ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาเรียบขึ้น และมีรูปแบบต่าง ๆ ของการใช้ Moving Average ซึ่งแต่ละแบบก็มีความราบเรียบของตัวมันเองแตกต่างกันไป ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ยิ่งราคามีความราบเรียบมาก ยิ่งทำให้ปฏิกิริยา ของ Moving Average ช้าลง และยิ่ง Moving Average ไม่ราบเรียบมาก ก็จะตอบสนองต่อปฏิกิริยาการเคลื่อนไหวทิศทางราคาของตลาดได้เร็ว
          เราจะอธิบายเรื่องนี้อีกที แต่ว่าตอนนี้เรามาดูความแตกต่างของ Moving Average แต่ละชนิด และจะมีหลักการคำนวณหาค่า Moving Average อย่างไร

Simple Moving Average (SMA)
          Simple moving average เป็นชนิดที่ธรรมดาที่สุดของเส้น moving average ปกติแล้ว เส้นSimple moving average จะคำนวณโดยใส่ค่าจำนวน (แท่งเทียน) ของราคาปิดแต่ละช่วงนั้น และหารด้วยจำนวนแท่งนั้น งงรึเปล่า???? งั้นแบบนี้ดีกว่า
          ถ้าคุณใช้กราฟ 5 แท่ง ของ Simple Moving Average ใน Timeframe 1 ชั่วโมง คุณจะต้องใช้ค่าราคาปิดของ 5 ชั่วโมงที่แล้ว แล้วหารด้วย 5 คุณก็จะได้ค่า Moving Average ในเวอร์ชั่นของคุณ
          ถ้าคุณใช้กราฟ 5 แท่ง ในการคำนวณ Simple Moving Average ในกราฟ 10 นาที คุณจะต้องใช้ราคาปิด ของ เวลา 50 นาที ก่อนหน้า และหารด้วย 5
          ถ้าคุณจะใช้กราฟ 5 แท่งในการคำนวณ Moving Average ในกราฟ 30 นาที คุณจะต้องใช้ราคาปิดของเวลา ทั้งหมด 150 นาทีที่แล้วและ หารด้วยเลข 5
          ถ้าคุณ จะใส่กราฟ 5 แท่งในการคำนวณ Simple Moving Average ในกราฟ 4 ชั่วโมง เอ่อ…………โอเค คิดว่าคุณคงเห็นภาพแล้ว อ๊ะมาเข้าเรื่องกันซักที
          ส่วนใหญ่โปรแกรมของคุณก็จะมีอยู่แล้ว แล้วก็ยังคำนวณให้คุณอย่างเสร็จสรรพอีกด้วย ส่วนเห็นผลที่เราเพิ่งจะทำให้คุณเบื่อ(หาว!!) เรื่องการคำนวณค่า Simple Moving Average ไปเมี่อกี้ เพราะว่า มันสำคัญมาในการที่คุณต้องรู้ว่า ค่าเหล่านั้นหาได้อย่างไร ถ้าคุณเข้าใจแล้วว่าค่าต่าง ๆ เหล่านั้น คุณจะได้รู้ว่าแบบไหนที่คุณอยากจะใช้
          เช่นเดียวกับ อินดิเคเตอร์ ตัวอื่น ๆ Moving Average จะเคลื่อนไหวช้า เพราว่า เป็นราคาเฉลี่ยของค่าเงินนั้น ๆ คุณทำได้แค่ ทำนายราคาในอนาคต เท่านั้น


นี่เป็นตัวอย่างของ Moving Average 
          ในกราฟก่อนนี้ คุณจะเห็น เส้น SMAs( Simple Moving Average) อย่างที่คุณเห็น ยิ่งคุณใช้ ระยะเวลามากขึ้นเท่าไหร่ ดูที่เส้น SMA 62 วัน ซึ่งอยู่ห่างจากราคาปัจจุบันมากกว่า เส้น SMA 30 และ เส้น SMA 5 วัน ซึ่งนี่เพราะว่า เส้น SMA 62 ใช้ราคาปิดของ 62 แท่ง แล้วหารด้วย 62 ยิ่งคุณใช้ตัวเลขเยอะเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เส้น Moving Average มีปฏิกิริยากับราคาตลาดน้อยลง
          เส้น SMA ในกราฟจะแสดงให้คุณถึงอารมณ์ตลาด ณ เวลา นั้น ๆ แทนที่เราจะต้องดูแค่ราคาปัจจุบันของตลาดปัจจุบัน เส้น Moving Average จะเปิดมุมมองที่กว้างให้คุณได้มากกว่า ทำให้คุณสามารถทำนายราคาได้ชัดเจนมากขึ้น.

Exponential Moving Average (EMA)
          แม้ว่า เส้น simple moving average จะเป็นเครื่องมือที่ยอดเยี่ยม แต่ก็มีข้อบกพร่องอยู่ด้วยเช่นกัน เพราะว่า Simple moving averages อ่อนไหวเกินไปต่อการเคลื่อนไหวราคาที่เปลี่ยนแปลงเยอะ งั้นลองมาดูตัวอย่างกัน
          สมมุติว่า เราสร้าง เส้น SMA 5 แท่งขึ้นมาในกราฟ Day ในกราฟ EUR/USD และ ราคาปิดของ 5 วันก่อนหน้าดังนี้
Day 1: 1.2345 Day 2: 1.2350 Day 3: 1.2360 Day 4: 1.2365 Day 5: 1.2370
          Simple moving average จะถูกคำนวณดังนี้ (1.2345+1.2350+1.2360+1.2365+1.2370)/5= 1.2358
พอเข้าใจบ้างแล้วใช่มั๊ยหล่ะ? เอาหล่ะ ทีนี้ ถ้าวันที่ 2 ราคา 1.2300? ผลก็คือ เส้น SMA จะทำให้เส้น ลดต่ำลงมาก ซึ่งบางครั้ง การเคลื่อนไหวของราคาแบบนั้น อาจจะเกิดขึ้นแค่วันเดียวเท่านั้น ในความจริง (อย่างเช่นข่าวการประกาศลด หรือ เพิ่มอัตราดอกเบี้ย)
          ประเด็นก็คือ บางครั้ง เส้น Simple Moving Average อาจจะ ธรรมดามากไป และถ้าคุณมีวิธีที่จะกรอง สัญญาณความผิดพลาดของเครื่องมือ ในช่วงที่ราคาเกิดการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเช่นนี้ คุณก็จะลดความผิดพลาดในการตัดสินใจเทรดของคุณ อืมมมมมมมม เดี๋ยวก่อน ใช่ มีสิ ยังพอมีทางอยู่!
เราเรียกมันว่า Exponential Moving Average!
          Exponential moving averages (EMA) จะให้น้ำหนักมากกว่าในราคาที่เป็นปัจจุบัน จากตัวอย่างข้างบนของเรา เส้น EMA จะให้น้ำหนักมากกว่าบนวันที่ 3-5 ซึ่งราคาที่เปลี่ยนแปลงในวันที่สองจะมีผลน้อยมากกับค่าเฉลี่ย และจะไม่กระทบกับเส้น Moving Average มากนัก ซึ่งตอบความต้องการของเทรดเดอร์ได้มากกว่า


          เมื่อเราเทรด สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ราคาตลาดที่เทรดในปัจจุบัน มากกว่าที่เราจะให้ความสำคัญกับราคาที่เกิดขึ้น เมื่อสัปดาห์ที่แล้วหรือ เดือนที่แล้ว

SMA vs. EMA
แล้วอันไหนดีกว่า ระหว่าง : Simple or Exponential?
          อันดับแรก เราลองมาเริ่มดูตรง exponential moving average กันก่อน เมื่อคุณต้องการราคาเฉลี่ยที่ตอบสนองต่อราคามากหน่อย คุณควรใช้ EMA ที่ใช้ระยะเวลาสั้น มากหน่อย ซึ่งจะทำให้คุณ จับเทรนด์ได้เร็วมากขึ้น หมายความว่า คุณก็จะมีโอกาสได้กำไรเยอะเช่นกัน จริง ๆ แล้วยิ่งคุณจับเทรนด์ได้เร็วเท่าไหร่ คุณก็สามารถอยู่ในเทรนด์ได้นานขึ้นเท่านั้น และนั่นหมายความว่ากำไรก็สูงขึ้นด้วย
          ส่วนข้อเสียของ การใช้ Moving Average ที่จับเทรนด์ได้เร็ว คือ คุณอาจจะเจอสัญญาณหลอก เพราะว่า เส้น Moving Average นั้น ตอบสนองการเคลื่อนไหวของราคาเร็วเกินไป คุณอาจจะคิดว่า เทรนด์กำลังเกิดขึ้น แท้จริงแล้วมันอาจจะเป็นช่วงที่ราคากระชากลงเท่านั้นเอง
          และ ถ้าเป็น simple moving average เมื่อคุณต้องการให้ Moving Average นั้นมีความราบเรียบกว่า การตอบสนองต่อราคาของตลาด ซึ่งยิ่งเราใช้ SMA ในช่วงเวลาที่สูงขึ้นเพียงใด ก็จะมีความเรียบของสัญญาณมากขึ้นเท่านั้น
          แม้ว่า เส้น Simple Moving Average จะตอบสนองต่อพฤติกรรมราคาของตลาดช้า แต่ว่า มันก็จะทำให้คุณปลอดภัยจากสัญญาณหลอก หลาย ๆ สัญญาณ แต่ข้อเสียของมัน คือ มันอาจจะให้สัญญาณช้าเกินไป และ ทำให้คุณพลาดโอกาสในการได้เข้าเทรดที่ราคาที่ดีที่สุดไป


แล้วแบบไหนดีกว่า มันขึ้นอยู่กับคุณว่าจะตัดสินยังไง เทรดเดอร์หลาย ๆ คนใส่เข้าไปทั้งสองชนิด โดยใช้ข้อดีของทั้งสองด้าน และอาจจะใช้ระยะเวลานานขึ้นในเส้น Simple Moving Average ในการหาเทรนด์ และใช้ เส้น Exponential Moving Average ในการหาจุดเข้าที่ดี
จริง ๆ แล้ว ระบบเทรดหลาย ๆ ระบบ ก็ถูกสร้างโดยใช้แนวคิดนี้ ซึ่งเราเรียกว่า “Moving Average Crossovers”. และในบทต่อ ๆ ไปในบทเรียนของเรา ก็จะมีตัวอย่างนี้เข้ามาซึ่งคุณก็จะได้รู้ว่า คุณจะใช้ Moving Average ในการสร้างระบบของคุณยังไง

เริ่มมองเห็นหนทางกันบ้างแล้วใช่มั๊ย เปิดกราฟขึ้นมา แล้ว ลองใส่ กราฟ Moving Average เข้าไปซักอันสองอัน แล้วลองเทียบความแตกต่างของมันใน เส้น Moving Averageที่มีอยู่ในโปรแกรมเทรดของคุณ ว่ามันแตกต่างกันยังไง ในช่วงเวลาที่เราใช้ในการคำนวณค่า เฉลี่ยเคลื่อนที่ และ คุณก็จะรู้ว่า คุณควรจะใช้ Moving Average แบบไหน ที่จะเหมาะกับตัวคุณมากที่สุด เลิกเรียนได้!!!!

สรุป
• เส้น moving average เป็นวิธีการหนึ่งที่ทำให้ทิศทางราคาดูเรียบขึ้นและง่ายต่อการทำความเข้าใจ
• มี เส้น Moving Average มีหลายประเภท แต่ว่า มีสองประเภท หลัก ๆ คือ Simple Moving Average และ Exponential Moving Average.
• Simple moving averages เป็นเครื่องมือที่สามัญที่สุดของ เส้น moving averages, แต่ก็ยังมีจุดบอดอยู่
• Exponential moving averages ให้น้ำหนักมากว่า และให้ความสำคัญมากกว่า ที่ราคาณ จุดปัจจุบัน ดังนั้น มันจึงแสดงอารมณ์ตลาดที่เกิดขึ้นตอนนั้น
• เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราต้องรู้ว่าเทรดเดอร์กำลังคิดและทำอย่างไรกันตอนนี้ มากกว่า ที่จะให้ความสำคัญกับสิ่งที่เกิดขึ้น สัปดาห์ที่แล้ว
• Simple moving averages นั้นให้สัญญาณที่เรียบกว่า Exponential moving averages.
• ยิ่งใช้เวลาที่มากขึ้นในการคำนวณ กราฟที่ออกมาก็มีความเรียบของสัญญาณ มากกว่า กราฟที่ใช้เวลาในการคำนวณค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่น้อยวัน
• ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ที่ใช้ค่าใกนารคำนวณน้อย นั้น จะสามารถจับเทรนด์ได้เร็ว และตอบสนองต่อการจับเทรนด์ได้รวดเร็ว อย่างไรก็ตาม เพราะว่าด้วยปฏิกิริยาที่จับความเคลื่อนไหวของตลาดได้เร็วนี้ ทำให้เกิดสัญญาณหลอกมากมาย
• moving averages ที่มีสัญญาณเรียบนั้น จะตอบสนองพฤติกรรมของราคาได้ช้า แต่ว่าจะช่วยคุณจากสัญญาณหลอกได้ อย่างไรก็ตาม เพราะว่า ด้วยปฏิกิริยาที่ช้านี้ทำให้คุณอาจจะตัดสินใจได้ช้าและพลาดโอกาสดี ๆ ไป
• วิธีที่ดีที่สุดในการใช้เส้น Moving Average คือ การใส่กราฟ Moving Average หลาย ๆ ชินดเข้าไปในกราฟ ดังนั้นคุณจะเห็นทั้งการเคลื่อนไหวเทรนด์ระยะยาว และกราเคลื่อนไหวในช่วงสั้น ๆ

ฟิโบนาชี่ คืออะไร?

          เราใช้อัตราส่วน ฟิโบนาชี่ ในการเทรด ดังนั้น คุณต้องเรียนรู้และรักฟิโบนาชี่เหมือนที่คุณรักแม่ของคุณ(ขนาดนั้นเลย) ฟิโบนาชี่ไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป มีการศึกษาฟิโบนาชี่หลาย ๆ แบบด้วยชื่อแปลก ๆ ออกมา แต่ว่าเราจะพูดกันแค่สองแบบคือ retracement และ extension.
          ทีนี้เราจะเล่าเรื่อง มิสเตอร์ Leonard Fibonacci ก่อนเป็นอันดับแรก Leonard Fibonacci เป็นนักคณิตศาสตร์ ชาวอิตาเลียน ที่ฉลาดที่สุด ซึ่งเป็นผู้ค้นพบชุดของตัวเลขที่สร้างอัตราส่วนในการบรรยาย สิ่งอื่น ๆ ทางธรรมชาติและสิ่งอื่น ๆ ในจักรวาล
          อัตราส่วนของชุดตัวเลขนี้เริ่มจากตัวเลขดังต่อไปนี้ 1, 1, 2, 3, 5, 8, 13, 21, 34, 55, 89, 144……
          ชุดตัวเลขเหล่านี้เริ่มจาก 1 และตามด้วย 2 ซึ่งเราจะนำ 1 + 2 เราก็จะได้ 3, และตัวเลขชุดที่สามคือ 2 + 3 เราก็จะได้เลข 5, ซึ่งเป็นตัวเลขที่ 4 และทำซ้ำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ หลังจากที่เราได้ตัวเลขเป็นชุดแบบนี้แล้ว ถ้าคุณประมาณอัตราส่วนของตัวเลขต่อไปนี้กับตัวเลขที่สูงกว่า หรือผลรวมของตัวเลขก่อนหน้า กับตัวเลขที่ใช้บวกตัวหลัง คุณจะได้อัตราส่วนราว ๆ .618 ตัวอย่างเช่น 34 ซึ่งหาร โดย 55 เท่ากับ 0.618
ถ้าคุณประมาณอัตราส่วนระหว่าง ตัวเลขของผลรวมตัวเลขข้างหลังก็จะได้ตัวเลขเท่ากับ .382

          ตัวอย่างเช่น 34 / 89 = 0.382 ซึ่งจะอธิบายเหตุผลของอัตราส่วนต่าง ๆ ที่เราใช้อัตราส่วนเหล่านี้ เรียกว่า อัตราส่วนทอง หรือ “Golden mean.” โอเค แค่นี้คงพอสำหรับทฤษฎี ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกง่วง กับการอธิบายตัวเลขนี้แล้ว ผมจะตัดบทออกไปเลย มาสู่
อัตราส่วนที่เราต้องรู้ดังนี้:
ระดับ Fibonacci Retracement
0.236, 0.382, 0.500, 0.618, 0.764
ระดับ Fibonacci Extension
0, 0.382, 0.618, 1.000, 1.382, 1.618
          คุณไม่ต้องจำเป็นต้องรู้เลยว่า จะคำนวณ ตัวเลขนี้ได้อย่างไร กราฟในโปรแกรมของคุณจะคำนวณแทนคุณหมดเลย แต่ว่าเราก็ควรจะรู้เรื่องพื้นฐานพวกนี้ก่อนว่าเบื้องหลัง เครื่องมือที่เราจะใช้นั้น ทำให้คุณมีความรู้ประดับสมองได้อีกด้วย
          เทรดเดอร์จะใช้ เส้น Fibonacci retracement เพื่อเป็นจุดกำหนด แนวรับแนวต้าน มีเทรดเดอร์หลายคนที่ใช้แนวรับแนวต้านแบบนี้ และส่งออร์เดอร์โดยใช้ฟิโบนาชี่เป็นพื้นฐานการตัดสินใจหรือว่า ทำการปิดออร์เดอร์ ซึ่งเส้นแนวรับแนวต้านแบบนี้ก็เติมเต็มความสามารถในการเทรดให้กับพวกเขาได้
          เทรดเดอร์จะใช้ ฟิโบนาชี่ในการเป็นจุดทำกำไร และขอย้ำอีกครั้งว่า เทรดเดอร์หลายคนใช้เป็นแนวรับแนวต้าน ในการซื้อและขาย หรือว่า เป็นจุดทำกำไรโปรแกรมที่ใช้ดูกราฟส่วนใหญ่ ก็จะมี Fibonacci ให้ใช้อยูแล้ว และในการใช้ ฟิโบนาชี่ กับกราฟของคุณนั้น คุณต้องหาจุดสูงสุดและต่ำสุดของเทรนด์ให้ได้ก่อน
          จุดสูงสุด คือ จุดที่กราฟแท่งเทียนเคลื่อนไหวไปได้สูงสุด ในช่วงเวลาใด เวลาหนึ่งทั้งด้านซ้าย
และด้านขวาในหน้าจอของกราฟแท่งเทียน
          จุดต่ำสุด คือจุดที่กราฟแท่งเทียนเคลื่อนไหวไปได้ต่ำที่สุด ในช่วงเวลา ใด เวลาหนึ่งทั้งด้านซ้ายและด้านขวาในหน้าจอของกราฟแท่งเทียน

ทีนี้เรามาดูการใช้ ฟิโบนาชี่ กัน

เส้นฟิโบนาชี่ Retracement
          ในขาขึ้น เราควรจะส่งคำสั่ง Buy ในระดับเส้น Fibonacci และในการที่จะหาค่าของเส้นฟิโบนาชี่นั้น คุณสามารถคลิ๊กใช้เครื่องมือ แล้วลากจากจุดที่สวิงต่ำสุด ไปยังจุดที่สวิงสูงสุดของราคาแล้วมันจะปรากฏเส้นต่าง ๆ ที่แสดงเป็นอัตราส่วน และเป็นไปตามสัดส่วนของฟิโบนาชี่ เราลองมาดูตัวอย่าง ตลาดในขาขึ้นกัน
          นี่เป็นกราฟ USD/JPY ที่ Time Frame 1 ชั่วโมง ซึ่งเราจะวางเส้นฟิโบนาชี่ โดยการคลิ๊กที่จุดที่ราคาสวิงที่ราคาต่ำที่สุด ณ 110.78 ในวันที่ 07/12/05 แล้วก็ลากเม้าส์ไปที่จุดราคาสวิงสูงสุดคือ ที่ 112.27 ในวันที่ 07/13/05 คุณจะเห็นว่า จะมีระดับฟิโบนาชี่ต่าง ๆ ที่โปรแกรมสร้างขึ้นซึ่งมีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 111.92 (0.236), 111.70 (0.382), 111.52 (0.500), และ 111.35(0.618). ตอนนี้ การคาดการณ์ของเราก็คือ ถ้า USD/JPY ราคาลดลงมาจากจุดสูงสุด มันจะชนกับแนวรับที่เส้น แรกของฟิโบนาชี่ และเทรดเดอร์จะส่งคำสั่ง ซื้อที่ ราคานี้ ถ้าเทรดเดอร์คาดการณ์ว่าตลาดจะตีกลับขึ้นไปอีก


          ทีนี้เราลองมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ราคาสวิงไปที่จุดสูงสุดแล้ว ตลาดได้ปรับฐานลงมาที่ระดับ 0.236 และเคลื่อนไหวไปที่ระดับ 0.382 แต่ว่าไม่สามารถทำการปิดต่ำกว่าระดับนี้ได้ และในวันถัดมา ตลาดก็วิ่งเป็นเทรนด์ขาขึ้นต่อไป ซึ่งถ้าเราซื้อที่ ระดับ 0.382 เป็นออร์เดอร์ที่ดีมากสำหรับการเทรดระยะสั้น


          ตอนนี้เราลองมาดูการใช้ ฟิโบนาชี่กับขาลงกันบ้าง นี่เป็นกราฟ 1 ชั่วโมง ค่าเงิน EUR/USD ตามที่คุณเห็น เราพบว่าราคาสูงสุดครั้งก่อนอยู่ที่ 1.3278 ในวันที่ 02/28/05 และจุดที่ราคาต่ำสุดอยู่ที่ 1.3169 ภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากนั้น จากนั้นเราจะลากเส้น Fibonacci และจะมีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 1.3236 (0.618), 1.3224 (0.500), 1.3211 (0.382), และ 1.3195 (.236).เราคาดว่า จะยังเป็นขาลง และถ้าราคามาชนแนวต้านใด ๆ ในเส้นฟิโบนาชี่ เทรดเดอร์จะส่งออร์เดอร์ sell ที่ระดับนั้น ๆ


          แล้วเราลองมาดูว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น ไม่นาน คุณจะเห็นว่า เราเข้าได้ราคาดีขนาดไหนตลาดพยายามจะวิ่งเปลี่ยนทิศทางผ่าน ระดับ 0.500 ไปจนถึงราคาที่ 1.3227 และมันก็ปิดต่ำกว่าเส้น ฟิโบนาชี่ของเรา หลังจากแท่งนั้น คุณจะเห็นได้ว่า ตลาดหมีได้แสดงพลังอย่างชัดเจนและ ถ้าเราส่งคำสั่งขายที่ระดับ 0.382 ก็ถือเป็น รางวัลก้อนโตสำหรับเราเลย


          นี่เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง ที่เห็นเป็นกราฟ ใน Time frame 1 ชั่วโมงของค่าเงิน GBP/USD เรามีจุดที่ราคาขึ้นไปสูงสุดที่ 1.7438 ณ วันที่ 07/26/05 และจุดที่ราคาปรับตัวต่ำสุดที่ ราคา1.7336 ในวันถัดไป ดังนั้น ระดับของเส้นฟิโบนาชี่เป็นดังนี้ 1.7399 (0.618), 1.7387 (0.500),1.7375 (0.382), และ 1.7360 (0.236). หลังจากนั้นเรากลับมามองดูที่ กราฟ ตลาดเหมือนจะพยายามทำลายแนวต้านที่ระดับ 0.500 หลายครั้ง แต่ว่า มันก็ไม่สามารถทะลุไปได้ ดังนั้น เราอาจจะส่งออร์เดอร์ Sell ที่ ระดับ 0.500 ซึ่งอาจจะเป็นจุดเข้าที่ดี


          ทีนี้เราลองมาดูผลกัน ถ้าคุณส่งออร์เดอร์ คุณจะเสียหายอย่างใหญ่หลวง ลองดูในกราฟว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากนั้น จุดต่ำสุดของราคาเป็นจุดที่ต่ำสุดของขาลงด้วยเช่นกัน ซึ่งทำให้ตลาดปรับตัวเองขาขึ้น


          จากตัวอย่างคุณจะเห็นว่า ตลาดนั้น พยายามที่จะหาจุดแนวรับแนวต้านของมันเอง ทั้งในช่วงขาขึ้นหรือขาลง ตามจุดต่าง ๆ ของเส้น ฟิโบนาชี่ที่เราขีดขึ้นมา ซึ่งก็มีปัญหานิดหน่อยในการตัดสินเรื่องนี้ เพราะว่าเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่า จุดไหนที่มันจะกลายเป็นแนวรับหรือแนวต้าน ที่จุด 0.236 ดูเหมือนจะเป็นแนวรับแนวต้านที่อ่อนไปหน่อย แต่จุดอื่น ๆ ก็ให้แนวรับแนวต้านในระดับความแข็งแกร่งของมันเท่า ๆ กันหมด แม้ว่ากราฟในนี้จะเห็นว่ากราฟส่วนใหญ่จะทำการปรับตัวที่ ระดับ 0.382 แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า เราจะยึดจุดนี้เป็นจุดตัดสินตายตัวได้ทุกครั้งว่ามันจะกลับตัวหรือไปต่อ บางครั้งมันก็ไปชนระดับ 0.500 แล้วก็กลับตัว หรือบางครั้งมันอาจจะไปจนถึงระดับ 0.618 หรือว่าบางครั้ง มันอาจจะพุ่งตรงทะลุแนวฟิโบนาชี่เหล่านี้ไป ผ่านระดับที่เราขีดขึ้นมาอย่างไม่สนใจใยดี เหมือนกับที่ อัลเลน ไอเวอร์สัน(นักกีฬาบาสเก็ตบอล) พาลูกผ่านแนวรับไปซะอย่างนั้น จำไว้ว่า ตลาดจะไม่บอกว่าเป็นขาขึ้นทุกครั้ง ถ้ามันเจอแนวต้าน และบางครั้งราคาอาจจะกลับมาเป็นขาลงตามเดิมถ้ามันไม่สามารถทำลายแนวต้านได้ และอาจจะทำราคาต่ำสุดครั้งใหม่ขึ้น หรือ อีกนัยหนึ่ง ตลาดอาจจะทะลุแนวต้านแล้วกลับไปทำราคาสูงสุดใหม่ขึ้น ก็เป็นไปได้เช่นกัน
          การใส่จุด SL ถือเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง ซึ่งมันจะดีมากถ้าเราใส่จุด SL ที่จุดที่ราคาทำราคาต่ำสุดเดิมเมื่อกี้ (ในกรณีที่เป็นขาขึ้น) หรือว่า เหนือจุด ที่ราคาเคลื่อนที่ไปได้สูงสุดเดิม (ในกรณีขาลง) แต่ว่ามันก็รวมถึงความเสี่ยงก้อนใหญ่ที่เราต้องแบกรับ ซึ่งเรียกว่า อัตรา Reward ต่อ Risk ในบทต่อ ๆ ไปคุณจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ การจัดการการเงิน และการควบคุมความเสี่ยง ซึ่งคุณจะเทรดเมื่อคุณเข้าใจอัตรา Reward ต่อ Risk ชัดเจนแล้ว
          อีกปัญหาหนึ่งเกี่ยวกับการตัดสินใจ คือการตัดสินว่าจุดไหนเป็นจุดต่ำสุดของราคาและจุดไหนเป็นจุดสูงสุดของราคาแล้วเพื่อการขีดเส้นแบ่งระดับ Fibonacci เราสามารถมองดูที่กราฟ คุณจะเห็นว่า มันมีหลายรูปแบบแตกต่างกันไป แต่ประเด็นคือ ไม่มีวิธีการที่ตายตัวหรอกว่าเราจะตัดสินจุดต่ำสุดของเทรนด์ยังไง ซึ่งบางครั้งอาจจะฟังดูแย่ที่มันขาดหลักการ แต่นี่ก็เป็นสิ่งที่เราต้องเดากันหล่ะ

ฟิโบนาชี่ Extension
          ขั้นต่อไปของการใช้ ฟิโบนาชี่ คือ คุณจะต้องประยุกต์การใช้ฟิโบนาชี่ เรามาลองซักตัวอย่างในขาขึ้นกันก่อน
          โดยทั่วไปขาที่เราจะพูดถึงนี้เป็นการทำกำไร จากออร์เดอร์ Buy จากการเทรดโดยการใช้ Fibonacci Extension คุณสามารถใช้ Fibonacci Extension ในการทำกำไรด้วยใช้ใช้เมาส์คลิ๊ก เพียงสามจุดเท่านั้น ขั้นแรก คุณต้องคลิกที่จุด ต่ำสุดของราคาเดิม แล้วก็ย้ายเม้าส์ของคุณไปที่จุดราคาเคลื่อนไหวสูงสุด และขั้นตอนสุดท้ายให้คุณลากเม้าส์กลับไปคลิ๊กที่จุดราคาทำการปรับฐานที่ราคาต่ำสุดก่อน ราคาในปัจจุบัน ซึ่งโปรแกรมก็จะแสดงระดับอัตราเส้นFibonacci Extension ในระดับต่าง ๆ กันออกมา
          ที่กราฟ 1 ชั่วโมง ของค่าเงิน USD/CHF เราจะวาดกราฟ Fibonacci extension โดยการคลิ๊กที่ จุดราคาต่ำสุดที่ 1.2447 ณ วันที่ 08/14/05 แล้วลากเม้าส์ไปจุดที่ราคาทำจุดสูงสุดที่ราคา1.2593 ในวันที่ 08/15/05 และหลังจากนั้นเราจะลากกลับมาที่จุดราคาต่ำสุดที่ราคามีการพักฐานของขาขึ้นที่ราคา 1.2541 ณ 08/15/05. กราฟ Fibonacci extension ก็จะสร้าง ระดับราคาและระดับของฟิโบนาชี่ออกมาดังนี้ 1.2597 (0.382), 1.2631 (0.618), 1.2687 (1.000),1.2743 (1.382), 1.2760 (1.500), และ 1.2777 (1.618).


ทีนี้เราลองมาดูว่า เกิดอะไรขึ้นหลังจากมีการปรับฐานเกิดขึ้น
• ตลาดวิ่งไปสู่ระดับ 0.500
• และปรับฐานทำราคา ต่ำสุดก่อนจะเกิดจุดกลับตัว
• หลังจากนั้นราคาทะยานไปที่จุด 0.500 อีก
• และมีการปรับฐานอีกนิดหน่อย
• ราคาวิ่งไปสู่จุดฟิโบนาชี่ที่ระดับ 0.618
• แล้วปรับฐานมาที่ระดับ 0.382 ซึ่งดูเหมือนจะเป็นแนวรับ
• หลังจากนั้นราคา เคลื่อนไหวขึ้นไปจนถึงระดับ 1.382
• ราคากระจุกตัวอยู่ช่วงหนึ่ง
• และเคลื่อนไหวไปสู่ฟิโบนาชี่ระดับ 1.500


          คุณจะเห็นจากตัวอย่างนี้ว่า ตลาดนั้น พยายามหาจุดที่เป็นแนวรับแนวต้าน ที่ระดับของFibonacci extension บ่อยครั้ง แต่ว่าไม่ได้เป็นอย่างนั้นทุกครั้ง ตามตัวอย่าง ก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ Fibonacci extension อยู่บ้างที่เราควรจะต้องทำความเข้าใจด้วย อย่างแรกคือไม่มีทางที่เราจะรู้ว่า แนวรับแนวต้าน นั้นจะไปหยุดหรือว่า จะไปอยู่ตรงระดับ Fibonacci extension ระดับไหน แม้ว่า ที่ระดับ 0.500 จะเป็นจุดที่ดีตามตัวอย่างดังกล่าว แต่ว่าถ้ามันไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด เราก็จะเหลือกำไรไม่มากเท่าไหร่ในพอร์ทของเรา
          อีกข้อหนึ่งเรื่องการตัดสินใจการใช้จุด ต่ำสุด และจุดสูงสุดของราคาช่วงไหน เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการวาด กราฟ Fibonacci Extension ที่ตามตัวอย่างนั้น ที่จุดต่ำสุดของราคา เราใช้ต่ำสุดของกราฟแท่งเทียน 30 แท่ง และอีกครั้งหนึ่ง มันไม่ได้มีกฏตายตัวในการประเมิน หรือประมาณว่ามันเป็จุดต่ำสุด ซึ่งเราก็ทำได้แค่เดาอีกเหมือนกัน
          เอาหล่ะ ต่อไปเราจะมาดูว่า การใช้ Fibonacci extension ในขาลงนั้น จะทำยังไง ในขาลงนั้นโดยทั่วไปการใช้ Fibonacci extension ตลาดนั้นจะพยายามวิ่งเข้าหาแนวรับ
          ณ กราฟ EUR/USD หนึ่งชั่วโมง เราจะวาดกราฟ Fibonacci extension โดยคลิ๊กที่จุดที่ราคาทำจุดสูงสุด ที่ราคา 1.21377 ณ วันที่ 07/15/05 แล้วลากเม้าส์ไปจุดที่ราคาได้ทำจุดต่ำสุดที่1.2021 ณวันที่ 08/15/15 หลังจากนั้น กลับไปที่จุดราคาจุดสูงสุดที่มีการพักฐานของขาลง ที่1.2085. พอเสร็จแล้วเราก็จะได้กราฟ Fibonacci extension ที่แสดงค่าในระดับต่างกันดังนี้1.2041 (0.382), 1.2027 (0.500), 1.2013 (0.618), 1.1969 (1.000), 1.1925 (1.382),1.1911 (1.500), และ 1.1897 (1.618).


ทีนี้เรามาดูว่า เกิดอะไรขึ้น หลังจากที่ราคาได้ทำจุดต่ำสุดครั้งใหม่เกิดขึ้น
• ตลาดปรับตัวลงมาจนถึงระดับ 0.382ซึ่งเป็นแนวรับสำหรับตอนนี้
• ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในช่วง sideway ระหว่างเส้นฟิโบนาชี่ระดับ 0.382
• สุดท้าย ราคาวิ่งทะลุระดับ 0.382 และพักตัวอยู่ที่ระดับ 0.500
• หลังจากนั้น มันราคาทำลายระดับ 0.500 และร่วงไปจนถึงระดับ 1.000


          ด้วยการใช้ฟิโบนาชี่ จะไม่ทำให้คุณรวยได้ อย่างไรก็ตาม ฟิโบนาชี่ก็มีประโชน์ในส่วนของการวิเคราะห์ และเทคนิคการใช้ คุณจะเห็นว่า กุญแจของการเทรดที่ประสบความสำเร็จนั้น คือการใช้ เครื่องมือไม่มากนัก ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ได้ยึดแนวทางตามนี้
          นักเทรดที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่จะรู้ว่า ควรจะใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างไร (รวมทั้ง ฟิโบนาชี่) ให้แตกต่าง บทเรียนที่คุณได้จากที่นี่ คือ ระดับเส้น ฟิโบนาชี่ เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ แต่ว่าอย่าใช้ในการเข้าเทรดหรือว่าทำกำไรจากการเทรดโดยใช้ฟิโบนาชี่เพียงอย่างเดียว

บทสรุปของการใช้ฟิโบนาชี่ในการเทรด
การใช้เส้นฟิโบนาชี่ มีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 0.236, 0.382, 0.500, 0.618, 0.764
          เทรดเดอร์จะใช้ ฟิโบนาชี่ เป็นแนวรับแนวต้าน ดังนั้น เทรดเดอร์หลาย ๆ คน จึงมองระดับแนวรับแนวต้านเดียวกัน และส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell หรือแม้กระทั่งใช้เป็นจุดทำกำไรและจุดออกเพื่อเติมเต็มความมั่นใจในการวิเคราะห์การเทรดของพวกเขา
          Fibonacci extension มีระดับต่าง ๆ ดังนี้ 0, 0.382, 0.618, 1.000, 1.382, 1.618
          เทรดเดอร์จะใช้ Fibonacci extension ในการกำหนดจุดทำกำไร และเนื่องจากถ้ามีคนใช้หลายคนในการส่งออร์เดอร์ Buy หรือ Sell หรือแม้แต่การทำกำไร เพื่อเติมเต็มความมั่นใจในการวิเคราะห์การเทรดของพวกเขา
          ในการประยุกต์ใช้ ฟิโบนาชี่ในกราฟของคุณ คุณต้องวิเคราะห์หาจุด ที่ราคา วิ่งไปจนถึงจุดสูงสุด และและ จุดต่ำสุด
          การเกิดจุดสูงสุดของราคา คือมีแท่งเทียนที่อยู่ต่ำกว่าวัดจากแท่งที่เราใช้เป็นจุดสูงสุดทั้งด้านซ้ายและด้านขวา
          การเกิดจุดต่ำสุดของราคา คือมีแท่งเทียนที่มีระดับสูงกว่าจากแท่งที่เราใช้เป็นจุดต่ำสุดทั้งด้านซ้ายและด้านขวา