วันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2558

แนวรับ และ แนวต้าน Support And Resistance

          แนวรับ และ แนวต้านเ  ป็นหนึ่งในเครื่องมือที่มีคนใช้เยอะมากในการเทรด ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็จะมีความคิด หรือแนวคิดของตัวเองในการประมาณว่า อะไรคือแนวรับอะไรคือแนวต้าน
ลองมาดูตรงพื้นฐานกันก่อน


          ดูที่ภาพด้านบน คุณจะเห็น รูปกราฟ ซิกแซก กำลังเป็นเทรนด์ขาขึ้น(ตลาดกระทิง) เมื่อตลาดปรับตัวขึ้นแล้วปรับฐานลงมา จุดสูงสุดที่เคยมาถึงก่อนหน้ามันจะปรับฐาน จุดนั้นเรียกว่า แนวต้าน

          เมื่อตลาดเคลื่อนตัวขึ้นอีกครั้ง จุดต่ำสุดที่มันปรับฐาน คือจุดที่ใช้เป็นแนวรับ กรณีนี้ แนวต้านและแนวรับจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และแม้จะเกิดการกลับเทรนด์กลายเป็นตลาดขาลงก็จะยังมีแนวต้านแนวรับอยู่เช่นเดิม

1.การกำหนดแนวรับแนวต้าน
          สิ่งหนึ่งที่ควรเข้าใจไว้เกี่ยวกับแนวรับและแนวต้านคือไม่ใช่ตัวเลข หรือว่า จุดตายตัว ทุกครั้งคุณจะเห็นแนวรับแนวต้านถูกทำลาย แต่บางครั้งคุณจะพบว่ามันเป็นการขึ้นไปทดสอบแนวรับแนวต้านเฉย ๆ ซึ่งถ้าเรามองโดยใช้ กราฟแท่งเทียน การทดสอบแนวรับแนวต้านนั้น จะใช้ตัวไส้เทียนเสมอ ในการวัดว่าเป็นการทดสอบแนวรับแนวต้าน


          สังเกตุไส้ของแท่งเทียนทดสอบที่แนวต้าน 2500 ซึ่งดูผิวเผินแล้วตลาดเหมือนจะทำท่าทำลายแนวต้าน แต่ว่าเราจะเห็นได้ว่า ตลาดเพียงแค่ทดสอบแนวต้านเท่านั้น

แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่า แนวรับแนวต้านถูกทำลายแล้ว?

          ไม่มีคำตอบที่ถูกที่สุดของคำถามนี้ บางคนอาจจะบอกว่าแนวรับแนวต้านถูกทำลายแล้วเพราะว่าตลาดนั้นปิดเหนือ แนวต้านนั้น อย่างไรก็ตามคุณจะพบว่า บางครั้งจุดนี้ก็ไม่สามารถวัดได้ (ตามภาพ) ดูตัวอย่างจากภาพคุณจะพบว่า เรายังใช้จุดนี้วัดไม่ได้ได้ว่ามันทะลุขึ้นไปเหนือจากเส้น2500 แล้ว


          ตัวอย่างกรณีนี้ ราคาปิดเหนือแนวต้าน ที่เส้น 2500 สองครั้งแต่ว่าเวลาดังกล่าว ก็ย้อนกลับมาปิดต่ำกว่าเส้นแนวต้านอีก ถ้าคุณเชื่อว่า นี่เป็นการทำลายแนวต้านจริง และซื้อ ณ ตอนนั้น คุณก็คงจะเจ็บตัว ลองดูที่กราฟสิ คุณจะเห็นว่ามันร่วงลงมาในที่สุดเพราะว่าราคาไม่สามารถทะลุแนวต้านไปได้ และราคาได้อ่อนตัวลงเป็นระยะ ๆ และอ่อนตัวได้อย่างชัดเจน ท้ายที่สุด

          ดังนั้นในการที่จะกรองสัญญาณ breakout ต่อไปนี้ คุณควรจะคิดว่า แนวรับและแนวต้านนั้น เป็นโซน มากกว่า การที่จะใช้เพียงแค่ตัวเลขเดี่ยว ๆ วิธีหนึ่งที่ช่วยในการหาโซนนี้คือการวางแนวรับแนวต้าน โดยการใช้ Line Chart แทนที่จะใช้ กราฟแท่งเทียน เหตุผลเพราะว่ามันแสดงให้คุณเฉพาะราคาปิด ขณะที่กราฟแท่งเทียนนั้น ยังแสดงราคา สูงสุด และต่ำสุด ซึ่งทำให้เข้าใจผิดและอาจจะผิดได้บ่อย ๆ เพราะว่ามันเกิดขึ้นอย่างทันทีทันใด ของสภาวะตลาด มันทำให้คนบางคน ตัดสินใจอะไรออกมาก แต่ถ้าเราถามเขา เขาจะบอกว่า “ขอโทษที มันเป็นปฏิกิริยาจากภาวะตลาด ”

          เมื่อเราพล็อทเส้น แนวรับ และ แนวต้าน คุณไม่จำเป็นต้องใช้ปฏิกิริยาจากภาวะการเคลื่อนไหวของตลาด คุณแค่พล็อทมันออกมาอย่างคร่าว ๆ ก็พอ

          ลองดู Line Chart ข้างล่าง คุณต้องพล็อทแนวต้านและแนวรับรอบ ๆ พื้นที่ ที่คุณเห็นราคาขึ้นไปจุดสูงสุด


จุดอื่น ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับ แนวรับและแนวต้าน
1. เมื่อตลาดทะลุผ่านแนวต้าน และแนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ
2. ยิ่งราคาทุดสอบแนวรับหรือแนวต้านบ่อยครั้งเท่าไหร่ และไม่สามารถผ่านไปได้ ยิ่งทำให้เห็นว่าแนวรับแนวต้านนี้เป็นแนวที่แข็งแกร่ง



เส้นเทรนด์ไลน์
          Trend lines เป็นการวิเคราะห์เทคนิคที่ธรรมดาที่สุดปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นอันหนึ่งที่ค่อนข้างที่ใช้ได้ผลมากทีเดียว .
          ถ้าเราวาดได้ถูกต้อง มันก็จะบอกเทรนด์ได้แม่นยำเหมือนวิธีการอื่น ๆ แต่ว่าโชคไม่ดีที่ เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะวาดมันไม่ค่อยถูกนัก ซึ่งพวกเขาพยายามจะวาดเส้นให้แนบชิดกับราคาเกินไปแทนที่จะให้เป็นแนวระยะ
          เส้นเทรนด์ไลน์ มีรูปแบบพื้นฐานของมัน เส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นจะถูกวาดจากจุดที่ราคาอยู่ต่ำจากที่จุดแนวรับมา เส้นเทรนด์ขาขึ้น เทรนด์จะถูกวาดจากราคาสูงสุดลงมาจากเส้นแนวต้านลงมา ก็คือ จุดพีคของราคานั่นเอง



Channels
          ถ้าเราใช้ Trend Line แบบรุดหน้าอีกหน่อยคือใช้มุมองศาที่ใกล้เคียงกันระหว่างเทรนด์ขาขึ้นกับขาลง นั่นคือเราได้ทำ channel ขึ้นมาแล้ว
          ในการสร้าง Channel ขาขึ้นนั้น เราจะวาดเส้นเทรนด์ในระนาบเดียวกันกับเทรนด์ แล้วย้ายเส้นเทรนด์ไลน์ไปแตะที่จุดพีคของแต่ละเทรนด์ ซึ่งเราก็จะได้เส้นเทรนด์ไลน์มา
          ในการสร้าง Channel ขาลง เราจะวาดเส้นเทรนด์ที่ระนาบระดับเดียวกันแล้วย้ายเส้นเทรนด์ไลน์ไปสัมผัสกับจุดต่ำสุด ซึ่งคุณก็จะได้เส้นเทรนด์ไลน์อีกหนึ่งเส้น
          เมื่อราคาได้แตะจุดต่ำสุดของเทรนด์ไลน์ขาลง เราอาจจะใช้จุดนี้เป็นจุดซื้อ ในทางกลับกัน ซึ่งเมื่อราคาแตะจุดสูงสุดของเทรนด์ไลน์ขาลงเราจะใช้นี้เป็นจุดขาย(ภาพประกอบด้านล่าง)



สรุปเรื่องแนวรับ และ แนวต้าน
          เมื่อตลาดปรับราคาขึ้นแล้วพักฐานกลับมา จุดสูงสุดก่อนหน้าก่อนที่มันจะพักฐานลงมาเรียกว่าแนวต้านและเมื่อราคายังคงปรับขึ้นต่อไป จุดต่ำสุดของราคาหลังจากที่พักฐานจะกลายมาเป็นแนวรับ
          ในรูปแบบของพื้นฐานทั่วไปของกราฟแท่งเทียน เส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้นจะวาดจากจุดต่ำสุดของราคามาจากเส้นแนวรับ ในช่วงเทรนด์ขาลง เส้นเทรนด์ไลน์จะวาดจากราคาสูงสุด จากเส้นแนวต้าน หรือจุดพีค
          ในการสร้าง Channel ขาขึ้น เราจะต้องวาดเส้นที่มีองศาเดียวกับเส้นเทรนด์ไลน์ขาขึ้น แล้วนำไปวางเป็นระยะเดียวกับจุดที่ราคาสูงสุดขึ้นไปแตะจุดสูงสุด
          ในการสร้าง Channel ขาลง เราจะต้องวาดเส้นที่มีองศาเดียวกับเส้นเทรนด์ไลน์ขาลง แล้วนำไปวางเป็นระยะเดียวกับจุดที่ราคาไปแตะจุดต่ำสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น