วันศุกร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2558

การกำหนดจุดตัดขาดทุน Stop Loss Order

          ตลาดนั้นมักจะทำตามใจของมัน และเคลื่อนไหวไปตามอย่างที่มันต้องการ ทุก ๆ วันนั้นจะมีความท้าทายใหม่ ๆ เกิดขึ้นเสมอ และไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม การเมือง เศรษฐกิจ หรือข่าวจากธนาคารกลาง สามารถทำให้ราคาเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่มันต้องการเร็วเกินกว่าที่มือของคุณจะคว้าอะไรไว้ได้ทัน
          นี่หมายความว่า แต่ละคนนั้นจะมีโอกาสที่จะเทรดคนละด้านกับตลาด
          การเสียนั้นไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ แต่ว่าเราสามารถควบคุมว่าเราควรจะทำอย่างไรถ้าเกิดเหตุการณ์นั้นได้ และคุณสามารถตัดขาดทุนของคุณได้อย่างรวดเร็วแทนที่จะถือมันไปแล้วจะรอมันกลับมา
          แน่นอน ว่าเสียแค่ครั้งเดียว มันอาจจะหมายถึงการเสียจนหมดตัวได้
          มีคำพูดหนึ่ง กล่าวว่า มีชีวิตอยู่เพื่อเทรดวันถัดไป คำพูดนี้ควรจะเป็นคติพจน์สาหรับมือใหม่ทุกคน เพราะว่า ยิ่งคุณอยู่ได้นานเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งได้เรียนรู้มากขึ้น ได้ประสบการณ์ และเพิ่มโอกาสในการประสบความสาเร็จ
          ซึ่งทำให้การ Stop loss เป็นทักษะและเครื่องมือที่สำคัญของเรา
          การตัดสินใจจุดออกไว้ก่อน ไม่เพียงแต่จะทำให้คุณสามารถหยุดขาดทุนไว้ แต่ยังให้คุณมีโอกาสเทรดใหม่ครั้งต่อไป และกำจัดความเครียดของคุณได้ จากการเทรดโดยไม่อิงแผนการ  ยิ่งความกดดันน้อย ยิ่งดี ใช่ไหม? แน่นอนว่ามันดี ดังนั้นเราควรจะตัดสินใจตัดขาดทุนให้เร็ว
          Stop Loss ของคุณควรจะมีอยู่ในความคิดของคุณ ก่อนที่คุณจะเทรดแล้ว  เมื่อราคามันถึงจุดนี้ มันควรจะบอกคุณได้ว่า ได้เวลาต้องปิดออร์เดอร์แล้ว
          เนื้อหาถัดไป เราจะพูดถึงการตั้ง Stop loss วิธีต่าง ๆ
          ต่อไปนี้ผมจะอธิบายเกี่ยวกับ 2 หัวข้อที่เกี่ยวข้องกันในการตั้ง Stop Loss  คือ Equity Stop และ Chart Stop

Equity Stop
          มาดูตัวที่เป็นพื้นฐานกันจริง ๆ ก่อน คือ Equity Stop หรือ จุดหยุดขาดทุนตามต้นทุน
          ซึ่งรู้จักกันอีกชื่อ คือ เปอร์เซ็นต์ Stop เพราะว่า มันวัดจากขนาดของบัญชีของเทรดเดอร์ สมมุติว่า 2 % ซึ่งเทรดเดอร์อยากจะเสี่ยงในการเทรด
          เปอร์เซ็นต์ความเสี่ยงสามารถเป็นอะไรก็ได้แล้วแต่เทรดเดอร์ว่า อาจจะน้อยหน่อย หรือมากหน่อย ซึ่งอาจจะถึง 10 % ของบัญชีของพวกเขา หรือบางคนอาจจะใช้ 2 % จากเทรดเพียง หนึ่งครั้ง
          เมื่อเราคิดเป็น เปอร์เซ็นต์ เทรดเดอร์จะใช้ ขนาดของออร์เดอร์ในการคำนวณว่า เขาควรจะตั้งจุด Stop loss เท่าไหร่ดีใช่มั้ย
          แต่จริงๆแล้วการตั้ง stop loss ที่ดีคุณควรจะจะต้องตั้ง Stop loss ตามสภาพตลาด หรือ ตามระบบเทรดของคุณ ไม่ใช่ว่าตั้งเป็นจุดตายตัวว่าคุณควรจะเสียเท่าไหร่

Chart Stop
          คือการตั้ง Stop Loss ตาม สิ่งที่กราฟบอก
          เมื่อเราเทรดเราควรจะต้อง Stop loss ตามที่ตลาดบอกเรา พอเข้าใจไหม?
          สิ่งหนึ่งที่เรารู้คือพฤติกรรมราคา ซึ่งจะมีจุดที่ราคานั้นจะเคลื่อนไหวอยู่จุดใดจุดหนึ่งแน่นอน
และบ่อยครั้ง ที่มันจะเคลื่อนไหวอยู่แถวแนวรับแนวต้าน หรือ มีการทดสอบแนวรับแนวต้าน บางครั้งก็อาจจะทะลุไปเฉย ๆ
          การตั้ง Stop loss ให้ห่างจากแนวพวกนี้หน่อย จะเป็นการดี เพราะว่า ถ้าตลาดนั้นมีการเทรดอยู่ในพื้นที่นี้ และเวลาที่มันเกิดจุด Break out จุดนั้นเทรดเดอร์ก็จะต้องปิดออร์เดอร์เพราะมีคนเข้ามาเทรดเพิ่มขึ้น ทาให้ราคาเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ของคุณ  หรือ ถ้ามันเกิดจุด Break out มันอาจจะเกิดขึ้นทันทีทันใด ในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
เรามาดูตัวอย่างการตั้ง Stop Loss ตามแนวรับแนวต้านกัน :


ตามกราฟข้างบน เราจะเห็นว่าค่าเงินนั้นเทรดอยู่ข้างบนเส้นเทรนด์ไลน์
คุณเลยตัดสินใจว่า คุณจะส่งออร์เดอร์ Buy
แต่ก่อนที่คุณจะเทรด ต้องถามตัวเองตามคาถามต่อไปนี้ก่อน :
คุณจะตั้ง Stop Loss ที่ไหน? ?
แล้วเงื่อนไขไหนที่คุณออกจากการเทรด?


ในกรณีนี้ เราควรจะต้อง Stop Loss ให้ต่ากว่าเส้นเทรดไลน์ และ เส้นแนวรับ
ถ้าตลาดเคลื่อนไหวอยู่ในบริเวณนี้ หมายความว่า Trend line นั้นไม่มีคนซื้อมารองรับ และฝั่ง ผู้ขายกาลังครอบงำตลาด  และคุณควรจะออกจากการเทรด และยอมรับการขาดทุน

ข้อผิดพลาดในการใช้ที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ
          ในส่วนนี้เรากาลังพูดถึง ข้อผิดพลาดของเทรดเดอร์ในการใช้ Stop loss ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการฝึก การจัดการการเงินที่ดี แต่ว่าถ้าคุณใช้มันไม่ถูกต้อง มันอาจจะทาให้คุณเสียมากกว่าได้กำไร และคุณคงไม่อยากให้มันเกิดใช่ไหม?

การตั้ง Stop loss แคบเกินไป
          ความผิดพลาดอย่างแรก ก็คือการตั้ง Stop Loss แคบเกินไป และทำให้ไม่มีช่องให้มันราคามันสวิงเลย ! การตั้ง Stop Loss แคบเกินไป ทำให้ไม่มีช่องให้ราคาแกว่งตัวก่อนมันจะเคลื่อนไหวไปตามทิศทางของมัน
          จำเรื่องความผันผวนของค่าเงินได้ไหม เพราะมันจะขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่กับจุดเข้าจุดออกของคุณก่อนที่จะเคลื่อนไหวในทิศทางที่มันจะเป็น
          สมมุติว่าคุณ Buy GBP/JPY ที่ราคา 145.00 ด้วย Stop Loss ที่ 144.90 แม้ว่าคุณจะทายถูกว่ามันจะวิ่งไปทางไหน ซึ่งราคาอาจจะวิ่ง 10 – 15 จุด สวิงไปมาบริเวณจุดเข้าของคุณ ก่อนมันจะไปในทิศทางที่คุณคิดบางทีอาจจะไปถึง 147.00
แต่ลองคิดดูสิ คุณไม่ได้กาไร 200 จุดหรอก เพราะ ออร์เดอร์คุณ ชน Stop Loss ไปแล้ว
ดังนั้นอย่าลืม : ต้องมีช่องว่างให้ราคาแกว่งตัวด้วย !

การใช้ ขนาดของ ออร์เดอร์เป็นเกณฑ์ Stop Loss
          เราพูดก่อนหน้านี้ว่า การใช้ ขนาดของออร์เดอร์ช่วยในการตั้ง Stop Loss แทนที่จะใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นตัวกาหนด Stop Loss ไม่ใช่ไอเดียที่ดี เราเรียนรู้ไปแล้ว จำได้ไหม?
          การใช้ ขนาดของออร์เดอร์มากำหนดว่า เราควรจะต้อง Stop Loss จุดไหนนั้นไม่เหมาะสมกับการเทรดในตลาด เพราะว่า เราเทรดในตลาด เราก็ควรจะใช้การเคลื่อนไหวของตลาดตั้ง Stop Loss
ถ้าคุณใช้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคในการหาจุดเข้า เราก็ควรใช้มันกาหนดจุด Stop Loss เหมือนกัน


เราไม่ได้บอกว่า ให้คุณลืมเรื่องการใช้ การกำหนดขนาดออร์เดอร์ไปเลย สิ่งที่เราแนะนาคือ คุณควรกำหนด Stop Loss ก่อนที่จะคานวณขนาดของออร์เดอร์

การตั้ง Stop Loss ไกลเกินไป
          เทรดเดอร์บางคนชอบตั้ง Stop Loss ไว้ไกลมาก  แล้ว ประเด็นของการ ตั้ง Stop Loss คืออะไร? ประเด็นของการถือออร์เดอร์ที่ขาดทุน คืออะไร? จะดีกว่ามั้ยถ้าคุณจะเอาเงินไปทำกำไรในออร์เดอร์ถัดไป
          การตั้ง Stop Loss ห่างเกินไปทาให้เพิ่มจานวนที่ต้องทำกำไรเยอะ เพื่อให้คุ้มค่าที่จะเสี่ยง
          กฏทั่วไปในการตั้ง Stop Loss คือ ตั้งให้ใกล้จุดเข้ามากกว่าจุดทำกำไร
          แน่นอนคุณต้องการจะเสี่ยงน้อย และได้กำไรเยอะ ๆ ใช่ไหม? เช่น อัตรากาไรต่อขาดทุนเท่ากับ 2: 1 ก็คงดี ถ้าคุณเทรดได้กำไร 50 ครั้ง คุณก็กำไรมหาศาลแล้ว

ตั้ง Stop Loss บนเส้น แนวรับแนวต้านเลย
          การตั้ง Stop Loss แคบเกินไป ? ไม่ดีใช่ไหม การตั้ง Stop loss กว้างไปหล่ะ ? ก็ไม่ดีอีก งั้นควรจะตั้งที่ไหน ดี? อืมมมม จริง ๆ ก็ควรจะอยู่แนวๆ แนวต้านแนวรับ
          ทำอย่างไร? การใช้ การวิเคราะห์ทางเทคนิคตั้ง Stop Loss เป็นเรื่องที่เหมาะสม
          แน่นอน เรื่องนี้ใช้ได้ และการตั้ง Stop Loss ใกล้กับ แนวรับแนวต้านเป็น Stop Loss ที่เหมาะสม ไม่ใกล้ และไกลเกินไป
          ถ้าคุณ กาลังจะ Buy คุณเพียง หาจุด Stop Loss แถว ๆ แนวรับ และตั้ง Stop loss ข้างล่างนั้นหน่อยนึง
          ถ้าคุณ กาลังจะ Sell คุณก็หาจุด Stop Loss ให้เหนือแนวต้านไปนิดหน่อย
          แล้วทำไมเราไม่ตั้งให้มันตรงกับแนวรับแนวต้านมันไปเลยล่ะ
          เหตุผลก็คือ ราคายังคงมีโอกาสกลับมาชนกับแนวรับแนวต้านอยู่ ถ้าคุณ ต้อง Stop Loss ใกล้ หรืออยู่บนนั้น มันก็อาจจะชน Stop Loss แต่ถ้าคุณ ตั้งเลยจากนั้นไปซักหน่อย ถ้ามันทะลุขึ้นมาหมายความว่าคุณวิเคราะห์ทิศทางราคาผิด

จะตัดขาดทุนอย่างไร
          เมื่อคุณทำการบ้านของคุณมาพร้อม และมีแผนการเทรดที่ดี และมีจุด Stop Loss แล้ว ตอนนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณว่าคุณจะตัดขาดทุนได้หรือไม่ ถ้าราคามันเคลื่อนไหวตรงข้ามกับออร์เดอร์ของคุณ
          มีวิธีสองวิธีที่ช่วยให้คุณตัดขาดทุนได้คือ วิธีแรก ใช้ Stop Loss อัติโนมัติ อีกวิธีคือ ตั้งมันไว้ในใจของคุณเอง
แล้วแบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด ?
          ถ้าราคาตลาดมาถึงจุด Stop Loss ของคุณ คุณไม่มีเหตุผลที่จะต้องถือออร์เดอร์ ต่อไปเพราะว่า คุณ เข้าผิดทาง และ ต้องปิดออร์เดอร์ทัน ทีโดยไม่มีคาถาม !
          นี่เป็นเหตุผลว่านักเทรดฟอร์เร็ก ได้คิด Limit Order ขึ้นมา นักเทรดหน้าใหม่ ควรจะใช้ Limit Order เพื่อการปิดออร์เดอร์ อัติโนมัติ ตามที่ตั้งไว้ (Limit Order = Stop Loss)
          วิธีนี้จะไม่ทำให้คุณมีเวลาสงสัยในแผนของคุณ และถ้าพลาดขึ้นมา คุณจะไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอในการปิดออร์เดอร์ด้วยซ้ำ
          ยิ่งคุณเทรดมากขึ้น คุณก็จะได้ประสบการณ์มากขึ้น และ หวังว่าคุณคงจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมราคา เกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการ และวินัยที่คุณต้องมี
          แม้ว่าการใช้ Stop Loss ตั้งไว้ในใจก็ได แต่ว่าการตั้ง Stop Loss แบบ Limit order ก็นั้นปลอดภัยมากกว่า
          การปิดออร์เดอร์ด้วยตัวคุณเองอาจจะทาให้เกิดข้อผิดพลาดได้(โดยเฉพาะเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้นมาก่อน) เช่น เข้าผิดช่วงราคา หรือ ผิดขนาดออร์เดอร์ คุณท้องเสีย และอื่น ๆ
อย่าปล่อยออร์เดอร์ของคุณทิ้งไว้โดยไม่มี Stop Loss
          เพราะว่า Stop Loss ไม่ได้ตั้งไว้ตายตัวเสมอไป ฉะนั้น เราจะมาจบบทเรียนด้วยสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการย้าย Stop Loss
          1. อย่าปล่อยให้อารมณ์มาครอบงำในการเคลื่อนย้าย Stop Loss การตั้ง Stop Loss ของคุณ ควรมีการตัดสินใจไว้ตั้งแต่ก่อนที่คุณจะเทรด
          2. ตั้ง Trailing Stop หมายความว่า ให้คุณย้าย ตามทิศทางที่ราคาเป็นไปตามอย่างที่คุณคิด หรือ ได้กำไร ซึ่งทำให้คุณได้กำไรแน่นอน และจัดการความเสี่ยงได้ดี
          3. อย่า เพิ่ม Stop Loss การเพิ่ม Stop Loss จะทำให้ความเสี่ยงและปริมาณการสูญเสียของคุณเพิ่มขึ้น ถ้าตลาดนั้นเคลื่อนไหวชน Stop Loss หมายความว่า ออร์เดอร์ของคุณควรจะปิด แล้วค่อยรอโอกาสต่อไป การย้าย Stop Loss ไม่ต่างอะไรกับการไม่ Stop Loss ฉะนั้น อย่าขยาย Stop Loss ของคุณเด็ดขาด !
          กฏเหล่านี้ค่อนข้างธรรมดาและง่ายต่อการทาความเข้าใจ และควรต้องทำตามให้ได้ โดยเฉพาะข้อ 3 !
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง
อย่าเพิ่ม Stop Loss!
          จำไว้เสมอว่า ควรจะวางแผนการเทรดไว้ก่อนหน้า ว่าถ้าเกิดเหตุการณ์ไหน จะต้องทำอย่างไร อย่าลนลาน แล้วมาเสียใจภายหลัง

สรุป: การตั้ง Stop Loss
          ตอนนี้คุณได้เรียนรู้การตั้ง Stop Loss จากเราแล้ว เรามาทบทวนส่งที่ต้องจาเกี่ยวกับ Stop Loss กัน
          1. หาโบรคเกอร์ที่มีเงื่อนไขการเทรด ขนาดของออร์เดอร์ที่เหมาะกับคุณ และการจัดการความเสี่ยงของคุณ
          2. เราพูดอยู่เสมอ ๆ ว่า ให้คิดไว้ก่อน เพราะว่าคุณควรรู้ว่า จะปิดออร์เดอร์ตอนไหน ก่อนที่คุณจะปิดออร์เดอร์เสียอีก เมื่อคุณเทรดและคุณกาลังขาดทุน คุณจะสูญเสียความสามารถในการตัดสินใจในการเทรด และทำให้เกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย !
          3. ตั้ง Stop Loss ตามสภาวะตลาด และตามวิธีการเทรด อย่าตั้ง Stop loss ตามใจตัวเองว่าอยากจะเสียเท่าไหร่ ตลาดไม่รู้หรอกว่า คุณอยากจะเสียเงินเท่าไหร่ ไม่ต้องห่วง หาจุด Stop Loss ที่คิดว่าจะยอมเสียถ้ามันไปจุดนั้นแล้วปรับความเสี่ยงให้เข้ากับมัน
          4. ใช้ Limit Order ในการปิดออร์เดอร์ของคุณ การใช้ Stop Loss ไว้ในใจ ควรจะใช้เมื่อคุณเทรดมาเป็นล้าน ๆ ออร์เดอร์แล้ว!
          5. เคลื่อนย้าย Stop Loss เมื่อมันได้กำไรแล้ว การตั้ง Trailing Stop สมควรอย่างยิ่ง การขยาย Stop Loss ขณะที่คุณยังขาดทุนอยู่ นั้น แย่มาก!
          เหมือนกับเรื่องอื่น ๆ ในการเทรด การตั้ง Stop Loss เหมือนกับศาสตร์ และศิลป์  ตลาดนั้น เคลื่อนไหวไม่ตายตัวอยู่ตลอดเวลา และมีความผันผวนด้วย และกฏที่ใช้ได้ตอนนี้อาจจะใช้ไม่ได้ สำหรับวันข้างหน้า
          ถ้าคุณยังฝึกอย่างถูกวิธี ในการตั้ง Stop Loss บันทึกผลการเทรดและทบทวนกระบวนการเหล่านั้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในบันทึกการเทรดของคุณแล้ว  คุณจะกลายเป็นผู้หนึ่งที่ก้าวเข้าใกล้ความสาเร็จไปทุกที!

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น